You are currently viewing ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ??
etax Tax?

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ??

  • Post author:
  • Post category:e-tax invoice

       ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ เงินที่คน “จ่าย” ที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลต้อง “หัก” ไว้ ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคล หรือ คนธรรมดาก็ได้ นำส่งเป็นภาษีให้สรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

       การหักภาษี ณ ที่จ่าย แบ่งจากผู้รับเงินได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. บุคคลธรรมดา : หักภาษี ณ ที่จ่าย กับผู้รับเงินที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใช้แบบ ภ.ง.ด.

2. นิติบุคคล :  หักภาษี ณ ที่จ่าย กับผู้รับเงินที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล  ใช้แบบ ภ.ง.ด.53

การหักภาษี ณ ที่จ่าย ประเภท บุคคลธรรมดา

  1. ให้เช่าทรัพย์สิน หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 5
  2. วิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชีและประณีตศิลปกรรม หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 3
  3. รับเหมา ที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญ นอกจากเครื่องมือ หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 3
  4. เงินรางวัลในการประกวด แข่งขัน การชิงโชค หรือการอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 5
  5. งานนักแสดงสาธารณะ หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 5
  6. รับโฆษณา หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 2
  7. รับจ้างทำของ หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 3
  8. บริการ หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 3
  9. เงินรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 3
  10. ค่าขนส่ง หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 1

การหักภาษี ณ ที่จ่าย ประเภท นิติบุคคล

  1. ค่านายหน้า และ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น 
    1. บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 3
    2. มูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 10
  2. ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ย ตั๋วเงิน
    1. บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 1
    2. มูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 10
  3. ให้เช่าทรัพย์สิน
    1. บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 5
    2. มูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 10
  4. วิชาชีพอิสระ
    1. บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 3
    2. มูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 10
  5. เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไรหรือประโยชน์อื่นใด หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 10
  6. ค่าจ้างทำของ หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 5
  7. เงินจากการประกวด แข่งขัน ชิงโชค หรือการอื่นอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 5
  8. ค่าโฆษณา หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 2
  9. ค่าบริการ หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 3
  10. ค่าเบี้ยประกัน วินาศภัยnเฉพาะที่จ่ายให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการรับประกันวินาศภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยในประเทศไทย หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 1
  11. ค่าขนส่ง แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 1

“จำนวนเงินได้ขั้นต่ำที่ผู้จ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับรับเงินที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล คือ รายได้ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป”

 

ขอบคุณข้อมูลจาก ธรรมนิติ