You are currently viewing เรื่องน่ารู้ของการ “เฉลี่ยภาษีซื้อ”
เฉลี่ยภาษีซื้อ

เรื่องน่ารู้ของการ “เฉลี่ยภาษีซื้อ”

  • Post author:
  • Post category:e-tax invoice

    ในการดำเนินธุรกิจย่อมคาดหวังให้กิจการสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในทุกด้าน ทำให้ใน 1 บริษัทอาจดำเนินกิจการประเภทต่างกันรวมอยู่  ในที่นี้จะแบ่งแยกเป็นกิจการประเภทมีภาษีมูลค่าเพิ่ม และกิจการประเภทที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น บริษัทขายอาหารสัตว์ การขายอาหารสัตว์ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่บริษัทก็มีการรับทำกรงสัตว์ อุปกรณ์สัตว์เลี้ยงไม่ได้รับการยกเว้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดการรวมกันของกิจการที่เสียและไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ย่อมต้องเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการจะต้องจัดการกับภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในธุรกิจทั้งสองประเภทอย่างถูกต้อง โดยใช้วิธีการ เฉลี่ยภาษีซื้อ นั่นเอง

    เฉลี่ยภาษีซื้อ คือ การปันส่วนภาษีซื้อของผู้ประกอบกิจการ ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยผู้ประกอบการที่มีรายได้ทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยไม่สามารถแยกได้อย่างชัดเจนว่า สินค้าหรือบริการที่นำมาใช้นั้นเป็นประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่เสีย จึงต้องนำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาเฉลี่ยตามส่วนของกิจการที่ผู้ประกอบการนำภาษีมูลค่าเพิ่มไปใช้ หากผู้ประกอบการไม่ทำการเฉลี่ยภาษีซื้อจะถือว่าเป็นภาษีซื้อต้องห้ามทั้งจำนวน

ยกตัวอย่างเช่น

บริษัท แปรรูปหมู จำกัด ผู้ประกอบการมีผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตร คือ การนำหมูมาแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์ 2 รูปแบบดังนี้ คือ

  1. การแปรรูปหมูที่มีชีวิต ให้เป็น “หมูชิ้น” กิจการประเภทนี้ไม่มีการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม
  2. การแปรรูปหมูให้เป็น “เบคอน” กิจการประเภทนี้ต้องมีการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม

ในกระบวนการแปรรูปหมูทำให้เกิดภาษีซื้อ โดยหมูที่นำไปใช้กระบวนการแปรรูปมีทั้งการนำหมูแปรรูปเป็นหมูชิ้นที่ไม่มีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และนำหมูชิ้นไปแปรรูปเป็นเบคอนที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นภาษีซื้อที่เกิดจาก กระบวนการแปรรูปนี้ต้องมีการเฉลี่ยภาษีซื้อให้ถูกต้อง

การเฉลี่ยภาษีซื้อมี 2 วิธี คือ

right-arrow

1. เฉลี่ยภาษีซื้อ ตามส่วนของรายได้

เฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้  คือ การเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดจากสินค้าหรือบริการ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ภาษีซื้อสำหรับค่าซื้อทรัพย์สินส่วนกลาง เช่น เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่งสำนักงาน เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ วัสดุสิ้นเปลือง และ ภาษีซื้อสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าโฆษณา ค่าซ่อมแซม

การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ มีวิธีการดังต่อไปนี้

ปีแรกที่เริ่มมีรายได้ (ปีแรกที่มีรายได้เกิดขึ้นจริงไม่น้อยกว่า 6 เดือนภาษี)

ประมาณการรายได้ของกิจการทั้ง 2 ประเภท ในปีที่เริ่มมีรายได้ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี โดยปีแรกให้ถือเป็นภาษีซื้อได้ไม่เกิน 50%

เฉลี่ยภาษีซื้อ
เฉลี่ยภาษีซื้อ
เฉลี่ยภาษีซื้อ
เฉลี่ยภาษีซื้อ
เฉลี่ยภาษีซื้อ

ปีที่ 2 และปีต่อ ๆ ไป

  1. ให้ผู้ประกอบการเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในปีที่ 2 และปีต่อ ๆ ไป โดยใช้รายได้ของปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์
  2. สิ้นปีที่ 2 สามารถเลือกได้ว่า
  • ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปีปัจจุบันของแต่ละประเภทกิจการ ภายในเดือนภาษีแรกของปีถัดไป
  • ไม่ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปีปัจจุบัน โดยเมื่อเริ่มต้นปีใหม่ก็จะใช้รายได้ของปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์
right-arrow

2. เฉลี่ยภาษีซื้อ ตามพื้นที่การใช้อาคาร

การเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร คือ การเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคาร เพื่อใช้ในกิจการทั้งประเภทมี VAT และ NON-VAT ซึ่งจะนำภาษีที่เกิดขึ้นมาเฉลี่ยตามพื้นที่อาคารที่ใช้ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้

right-arrow

1. เมื่อเริ่มสร้างอาคาร

  • ต้องมีการประมาณพื้นที่อาคารที่ใช้เพื่อประกอบกิจการ VAT และ NON-VAT โดยแจ้งการประมาณแต่ละขั้นตอน (เป็นตารางเมตร) แก่สรรพากร ตามแบบภ.พ.05.1 ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มก่อสร้างอาคาร หรือวันที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างอาคาร แล้วแต่วันใดจะเกิดขึ้นก่อน เช่น บริษัท แปรรูปหมู จำกัด มีแผนก่อสร้างอาคารสำนักงาน ได้ประมาณสัดส่วนการใช้พื้นที่อาคารสำนักงานในกิจการที่มี VAT และ NON-VAT ในสัดส่วน 70 : 30 ตามลำดับ
  • ต้องเฉลี่ยภาษีซื้อตามสัดส่วนของการใช้พื้นที่อาคารตามอัตราส่วนของแต่ละกิจการ
right-arrow

2. เมื่อก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์

  • ให้ผู้ประกอบการแจ้งการก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์แก่กรมสรรพากร ตามแบบภ.พ.05.2 ภายใน30 วันนับแต่วันที่สร้างเสร็จสมบูรณ์
  • ในระยะเวลา 3 ปี หากผู้ประกอบการไม่ได้ใช้พื้นที่อาคาร หรือใช้พื้นที่ไม่เกินกว่าที่ประมาณการไว้ ไม่ต้องมีการปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้เฉลี่ยไว้
เฉลี่ยภาษีซื้อ
เฉลี่ยภาษีซื้อ
เฉลี่ยภาษีซื้อ

    หลักจากการดูตัวอย่างทั้งหมดแล้ว หวังว่าผู้ที่สนใจในประเด็นนี้อยู่ จะได้ความรู้จากบทความนี้และนำไปปรับใช้กับกิจการของตนเองได้อย่างเหมาะสม