You are currently viewing ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ควรรู้…

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ควรรู้…

  • Post author:
  • Post category:e-tax invoice

    เราคงได้ยินและเห็นกันอยู่บ่อยๆ สำหรับคำว่า “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” (Value Added Tax) หรือ Vat คือ การเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ในปัจจุบันผู้ประกอบการในประเทศไทยจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้บริโภคอัตราร้อยละ 7 หรือ 7% และจะนำส่งให้กับกรมสรรพากรนั่นเอง

right-arrow

ผู้ประกอบการใดบ้างที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าในราชอาณาจักรไทย
  • การให้บริการในราชอาณาจักรไทยโดยผู้ประกอบการ รวมถึงการให้บริการที่ทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นๆ ในราชอาณาจักรไทย เช่น
    • การให้บริการแพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์จากบริษัทต่างประเทศที่ใช้ในไทย
    • การบริการที่ได้ทำในราชอาณาจักรไทย แต่ใช้บริการจริง เกิดขึ้นในต่างประเทศ เช่น รับจ้างเขียนซอฟต์แวร์ให้บริษัทต่างชาติไปใช้ในต่างประเทศ
  • ผู้ประกอบการที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรไทย
right-arrow

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ เกินกว่า 8 ล้านบาท/ปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายรับเกิน

(ผู้ประกอบการที่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี ได้รับการยกเว้น แต่มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้)

  • ผู้ประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายใน 6 เดือน ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ
right-arrow

การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. การขายสินค้าที่มิใช่การส่งออก

    เช่น การขายพืชผลทางการเกษตร การขายสัตว์ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน

  1. การให้บริการ

    เช่น การให้บริการวิจัยหรือให้บริการทางวิชาการ การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ (ซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยาน หรือ เรือเดินทะเล) การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น

  1. การนำเข้าสินค้า
    • สินค้าพืชผลทางการเกษตร ขายสัตว์ ปุ๋ย อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
    • สินค้าจากต่างประเทศที่นำเข้าไปในเขตปลอดอากร (ทั้งนี้ เฉพาะสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น)
    • สินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
    • สินค้าซึ่งนำเข้าและอยู่ในอารักขาของศุลกากรและได้ส่งกลับออกไปต่างประเทศ (โดยได้คืนอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร)
right-arrow

วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. ยื่นแบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) ด้วยกระดาษ
    • ยื่น ณ สำนักสรรพากรพื้นที่สาขาหรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
  2. ยื่นแบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  3. ยื่นแบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมจดทะเบียนจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด
    • ผ่าน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด
right-arrow

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วต้องทำอะไรบ้าง

  1. จัดทำใบกำกับภาษี

    ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษี สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการทุกครั้ง แล้วส่งมอบต้นฉบับใบกำกับภาษีแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และ เก็บรักษาสำเนาใบกำกับภาษี ณ สถานประกอบการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี

  1. จัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • รายงานภาษีขาย : ให้จัดทำและลงรายการ

ภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษี

ภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับใบกำกับภาษี

    • รายงานสินค้าหรือวัตถุดิบ : ให้จัดทำและลงรายการ

ภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่รับมาหรือจ่ายไป

(ผู้ประกอบกิจการให้บริการไม่ต้องจัดทำรายงานนี้)

  1. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) พร้อมกับชำระภาษี (ถ้ามี)

    ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

    • ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) เป็นประจำทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
    • ยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (rd.go.th) ได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบอีก 8 วัน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มต้องเสียหรือไม่ก็ตาม
right-arrow

การชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. การชำระภาษีสำหรับแบบที่ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
    • เงินสด
    • เช็คหรือแคชเชียร์เช็ค
      เช็คทุกประเภทสั่งจ่ายแก่ “กรมสรรพากร” และขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” ออก
    • บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตร Tax Smart Card
      (เฉพาะสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่มีเครื่องรูดบัตร)
  2. การชำระภาษีสำหรับแบบที่ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต
    • ชำระแบบเชื่อมต่อไปยังระบบชำระเงินของธนาคารโดยตรง
      • E-Payment
      • Internet Banking
      • Credit Card
    • ชำระด้วยชุดชำระเงิน (Pay in Slip) หรือ QR Code & Barcode
      • Counter Service
      • ATM
      • Internet Banking
      • Mobile Banking
      • Tax Smart Card
right-arrow

เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และบทกำหนดโทษ

ขอบคุณข้อมูล : กรมสรรพากร