You are currently viewing การจำหน่ายหนี้สูญ จากบัญชีลูกหนี้

การจำหน่ายหนี้สูญ จากบัญชีลูกหนี้

  • Post author:
  • Post category:e-tax invoice

    คณะรัฐมนตรี ได้มีการกล่าวถึงมติ ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การจำหน่ายหนี้สูญ จากบัญชีลูกหนี้ ไปแล้วนั้น เราจะมาพูดถึงเรื่องของวันใช้บังคับของหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่มีการแก้ไข พร้อมทั้งการดำเนินการ สำหรับช่วงเปลี่ยนผ่านของหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเก่าและใหม่

    อย่างไรก็ตาม ก็ได้มี ประเด็นที่ต้องพิจารณา ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขใหม่ตามที่ได้รับอนุมัติ โดยมติคณะรัฐมนตรีว่า

    สำหรับมูลหนี้ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท ซึ่งเดิมนั้นเข้าลักษณะเป็นมูลหนี้ระดับสูงที่ต้องดำเนินการจนสิ้นกระบวนการทางศาล แต่ปัจจุบันได้กลายมาเป็นมูลหนี้ระดับกลางที่หากศาลได้มีคำสั่งรับฟ้องหรือรับคำขอแล้วก็สามารถที่จะเสนอให้กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการอนุมัติจำหน่ายเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

    อย่างไรก็ดี เนื่องจาก ณ ขณะนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่มีรอบระยะเวลาบัญชีปกติ (เริ่มต้นวันที่ 1 มกราคม สิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี) นั้น ได้ผ่านช่วงเวลา 30 วันดังกล่าวมาแล้ว เช่นนี้ ต้องดำเนินการเช่นไร ในประเด็นดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขใหม่ก็ได้คำนึงถึงสำหรับในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ จึงได้กําหนดไว้อย่างชัดเจนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2563 ว่า ในกรณีที่มูลหนี้ไม่เกิน 2,000,000 บาทให้กรรมการหรือผู้จัดการอนุมัติให้จำหน่ายหนี้เป็นหนี้สูญได้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวง ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา หรือภายใน 60 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง หมายความว่า สำหรับผู้ประกอบการที่มีมูลหนี้แต่ละราย มากกว่า 200,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท และได้ดำาเนินการฟ้องร้องหรือยื่นคำร้องต่อศาลในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2563 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

    หากรอบระยะเวลาบัญชีปี 2563 ของผู้ประกอบการนั้นสิ้นสุดก่อนวันที่กฎกระทรวงได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาก็ให้กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ประกอบการนั้นอนุมัติให้จำหน่ายมูลหนี้ รายดังกล่าวเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ได้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงนั้นประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา แต่หากรอบระยะเวลาบัญชีปี 2563 นั้นสิ้นสุด ภายหลังวันที่กฎกระทรวงได้ถูกประกาศลงใน ราชกิจจานุเบกษา ก็ให้กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ประกอบการนั้นอนุมัติให้จำหน่ายมูลหนี้รายดังกล่าวเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ได้ภายใน 60 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

    จะเห็นได้ว่า ในช่วงเปลี่ยนผ่านของหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขใหม่นี้ ก็ได้มีกำหนดเงื่อนไขพิเศษที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องคํานึงถึง อย่างไรก็ตามเงื่อนไขพิเศษดังกล่าวนี้ใช้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2563 เท่านั้น

    “สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2564 เป็นต้นไป ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการตามเงื่อนไข ปกติกล่าวคือหากเป็นมูลหนี้ที่มากกว่า 200,000 บาทแล้ว แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท ถ้าได้ดำเนินการฟ้องร้องหรือยื่นคำร้องต่อศาลแล้ว ต้องให้กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ประกอบการนั้นอนุมัติให้จำหน่ายมูลหนี้รายดังกล่าวเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ภายใน 30 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

ที่มา : กรมสรรพากร