You are currently viewing รู้ก่อน!! ยื่นลดหย่อนภาษี ปี 2566

รู้ก่อน!! ยื่นลดหย่อนภาษี ปี 2566

  • Post author:
  • Post category:e-tax invoice

        ผู้ที่มีเงินเดือนประจำตั้งแต่ 120,000 บาท/ปี หรือมีรายได้ประเภทอื่นๆตั้งแต่ 60,000 บาท/ปี ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีจำนวนเท่าไหร่จะขึ้นอยู่กับฐานของเงินได้สุทธิแต่ละปี ซึ่งหลายๆ คน ควรวางแผนเพื่อการลดหย่อนภาษีได้ตั้งแต่ตอนนี้ จะช่วยทำให้เราประหยัดการเสียภาษีลงได้ หรืออาจจะได้รับการยกเว้นภาษีเลยหากเงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนต่างๆ แล้วเหลือไม่เกิน 150,000.บาท/ปี

        การวางแผนและเตรียมตัววางแผนเกี่ยวกับภาษีเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีจึงสำคัญ มาทำความเข้าใจเพื่อจะได้รู้ว่าเราต้องเตรียมลดหย่อนภาษีจากส่วนไหนได้บ้าง

right-arrow

ตรวจสอบสิทธิลดหย่อนภาษี

  1. เข้าไปยังเว็บไซต์ https://www.rd.go.th/html
  2. เลือกเมนู My Tax Account https://efiling.rd.go.th/rd-efiling-web/authen/MTA2
  3. ก่อนใช้งานต้องลงทะเบียน หรือ ล็อกอินด้วยบัญชีเดียวกับ e-Filling
  4. เลือกรายการลดหย่อนภาษีเพื่อตรวจสอบ

ใช้งาน getInvoice  (e-tax Invoice) หักรายจ่ายค่าบริการระบบดังกล่าวได้ 2 เท่า!!

right-arrow

ยื่นภาษีเมื่อไหร่

การยื่นภาษีมีด้วย 2 แบบ คือ

  1. ยื่นภาษีแบบกระดาษ สามารถยื่นได้ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม
  2. ยื่นภาษีแบบออนไลน์ สามารถยื่นได้ตั้งแต่ 1 มกราคา – 8 เมษายน
right-arrow

ข้อแนะนำในการยื่นภาษี

  1. ควรวางแผนเพื่อลดหย่อนภาษีล่วงหน้าตั้งแต่ต้นปี เพื่อได้คำนวณได้ว่า ในปีภาษีนั้นๆ ใช้สิทธิลดหย่อนจากอะไรได้บ้าง
  2. ไม่ยื่นแบบล่าช้า ยื่นผิด มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
  3. ยื่นแบบภาษีเกินเวลา มีค่าปรับเพิ่มร้อยละ 5/เดือน
  4. จงใจยื่นแบบด้วยข้อมูลเท็จ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 7 ปี และปรับ 2,000 – 200,000 บาท หรือ ตั้งใจละเลยไม่ยื่นแบบเพื่อเลี่ยงภาษี มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
  5. สามารถผ่อนชำระภาษีได้ หากมียอดชำระภาษีตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป สามารถผ่อนชำระได้ 3 เดือน
  6. ช่องทางการติดต่อกรมสรรพากร สอบถามได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือโทร 1161 ทุกวันทำการ ตั้งแต่ 8.30 น. – 18.00 น.
รายการลดหย่อนภาษี ปี 2566
right-arrow

ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

  1. ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  2. คู่สมรส (จดทะเบียนสมรส – ไม่มีรายได้) 60,000 บาท
  3. บุตร คนละ 30,000 บาท หากเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวนคน แต่ถ้าเป็นบุตรบุญธรรม สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    • อายุไม่เกิน 20 ปี
    • ถ้าอายุ 21 – 25 ปี ต้องศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ขึ้นไป
    • บุตรมีเงินได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อปี
      ในกรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป จะสามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
  4. ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
  5. ค่าดูแลเลี้ยงดูพ่อแม่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คนละ 30,000 บาท โดยพ่อแม่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และสามารถหักลดหย่อนสำหรับพ่อแม่ของคู่สมรสได้อีกคนละ 30,000 บาท
  6. ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท โดยผู้พิการต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวคนพิการ
right-arrow

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มมประกันและการลงทุน

  1. ประกันสังคมสูงสุด 9,000 บาท
  2. เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ของเราและคู่สมรส ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
  3. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต (คุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป) ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  4. เบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตทั่วไปแล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  5. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และอาจจะลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท ถ้ายังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    • ระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
    • จ่ายผลตอบแทนให้ผู้เอาประกันตั้งแต่อายุ 55 ปี ต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 85 ปี หรือมากกว่านั้น
  6. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  7. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ลดหย่อนได้ 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  8. กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    • ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี
    • ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก โดยนับเฉพาะปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุน คือ ปีใดไม่ลงทุนจะไม่นับว่ามีการลงทุนในปีนั้น
    • ขายได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  9. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    • ต้องถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ
    • ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อและไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
  10. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุด 30,000 บาท

        ทั้งนี้ กองทุน RMF, กองทุน SSF, กบข., กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมด ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

11. กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุด 100,000 บาท

right-arrow

ค่าลดหย่อนกระตุ้นเศรษฐกิจ

  1. ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    • เป็นดอกเบี้ยจากเงินกู้เพื่อซื้อบ้าน คอนโดมิเนียม หรือที่อยู่อาศัย โดยเราต้องอาศัยในบ้านหลังนี้ด้วย
    • ต้องเป็นการกู้เพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่บนที่ดินของตัวเอง หรือกู้เพื่อซื้อคอนโดมิเนียม
    • ต้องเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินภายในประเทศ
    • หากมีการกู้สำหรับที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่ง สามารถรวมกันได้ แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
    • กรณีกู้ร่วมกันหลายคน ให้แบ่งดอกเบี้ยคนละเท่า ๆ กัน
  2. เงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) 100,000 บาท
  3. ช้อปดีมีคืน 40,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    • ซื้อสินค้าและบริการทั่วไปที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หนังสือ (รวมถึง e-book) และสินค้า OTOP ลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนแล้ว
    • มีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ลดหย่อนได้ 30,000 บาท
    • มีใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ ลดหย่อนเพิ่มได้อีก 10,000 บาท
    • ใช้สำหรับการซื้อสินค้าในช่วงวันที่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. 66
right-arrow

ลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

  1. บริจาคพรรคการเมือง 10,000 บาท
  2. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา สนับสนุนกีฬา พัฒนาสังคมต่าง ๆ มูลนิธิด้านสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
  3. เงินบริจาคอื่น ๆ มูลนิธิและองค์กรสาธารณกุศล ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

getInvoice ทำให้ e-tax Invoice เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ!!!