You are currently viewing ไขข้อข้องใจ ลีสซิ่ง VS เช่าซื้อ ต่างกันอย่างไร ?

ไขข้อข้องใจ ลีสซิ่ง VS เช่าซื้อ ต่างกันอย่างไร ?

  • Post author:
  • Post category:e-tax invoice

ลีสซิ่ง และการเช่าซื้อ เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ค่อนข้างสับสนกับความแตกกต่างของสัญญาทั้งสองแบบอยู่ไม่น้อย เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกันพอสมควร อีกทั้งมักจะมีคำถามจากเจ้าของกิจการว่า ทำสัญญาแบบไหนถึงจะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้มากกว่ากัน วันนี้เราจะมาอธิบายว่าการเช่าซื้อและลีสซิ่งนั้น แตกต่างกันอย่างไร และแบบไหนมีประโยชน์ทางภาษีมากกว่า

right-arrow

การเช่าซื้อ หรือ Hire Purchase

คือ สัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินให้เช่า ภายใต้เงื่อนไขว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของผู้เช่า เมื่อผู้เช่าจ่ายเงินให้แก่เจ้าของสินทรัพย์ตามจำนวนงวดที่ตกลงกันไว้ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าสัญญาเช่าซื้อคือการผ่อนสินค้า โดยมีการแบ่งจ่ายเป็นงวด ซึ่งกรรมสิทธิ์จะเป็นของผู้เช่าตั้งแต่เริ่มเซ็นสัญญา และเมื่อผู้เช่าซื้อผ่อนจ่ายค่าสินค้าครบถ้วนแล้ว ผู้ขายจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นให้ผู้เช่าซื้อ 

ซึ่งสัญญาเช่า มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

right-arrow

สัญญาเช่าซื้อ (Hire Purchase)

  1. ผู้ให้เช่าต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ให้เช่า
  2. ผู้ให้เช่านำทรัพย์สินของตนให้ผู้เช่าไปใช้ประโยชน์
  3. ผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้เช่าหรือให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เช่า
  4. ผู้เช่าจะต้องชำระเงินค่าเช่าซื้อเป็นงวด จนครบถ้วนตามที่ตกลง
  5. สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ โดยทั้งคู่ต้องลงลายมือชื่อในสัญญาทั้งคู่
right-arrow

การนำไปใช้ประโยชน์ทางภาษี

สัญญาเช่านั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้ โดยใช้ในส่วนของค่าเสื่อมราคา ซึ่งสามารถ ใช้ได้ตั้งแต่เริ่มผ่อนชำระ โดยกิจการจะสามารถบันทึกค่าเสื่อมราคาต่อปีเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการเช่าซื้อรวมดอกเบี้ย เมื่อคำนวณออกมาแล้วแล้วจะต้องไม่เกินราคาที่จะต้องผ่อนชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

ยกตัวอย่าง เช่น กิจการทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง กิจการสามารถหักค่าเสื่อมราคาได้ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุน เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท (ค่าเสื่อมสูงสุด 200,000 บาทต่อปี)

right-arrow

สัญญา ลีสซิ่ง หรือ Leasing

คือ สัญญาที่เจ้าของทรัพย์สิน (Leasor) ตกลงให้ผู้เช่าทรัพย์สินแบบแบบลีสซิ่ง (Leasee) ใช้ประโยชน์จากทรัพย์นั้นได้ โดยมีเงื่อนไขและข้อจำกัดตามที่ระบุในสัญญา และต้องชำระราคาตามที่กำหนดไว้ โดยเจ้าของทรัพย์สินตกลงจะขายทรัพย์สินที่ให้ลิสซิ่งนั้นให้แก่ผู้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งเมื่อครบกำหนดตามสัญญา หรือเรียกง่าย ๆ ว่า สัญญาเช่า ซึ่งยังไม่ถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ เมื่อจ่ายค่าเช่าครบตามที่กำหนดในสัญญา กิจการมีสิทธิเลือกได้ว่าจะซื้อสินทรัพย์ เช่าต่อ หรือคืนสินทรัพย์ให้แก่ผู้ให้เช่า

right-arrow

การนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษี

ลีสซิ่งนั้นจะมีลักษณะเป็นการเช่าระยะยาว โดยค่าเช่ารายเดือนจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมด สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวน แต่จะไม่สามารถหักค่าเสื่อมราคาได้ เนื่องจากการเช่าซื้อแบบลิสซิ่งนั้น กิจการยังไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน

ยกตัวอย่าง เช่น กิจการเช่ารถยนต์ 10 ที่นั่งแบบลิสซิ่ง ในทางบัญชีจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือนได้ ซึ่งสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 100% แต่ในทางภาษีจะมีเพดานกำหนด โดยค่าเช่าต้องไม่เกิน 36,000 บาทต่อเดือน หรือ 432,000 บาทต่อปี และเนื่องจากลีสซิ่งถือเป็นการเช่า เมื่อจ่ายเงินค่าเช่าจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 5%

right-arrow

สรุปความแตกต่างของ ลีสซิ่ง และ เช่าซื้อ แบบง่าย ๆ

ลีสซิ่ง VS เช่าซื้อ
right-arrow

เช่าซื้อ หรือ ลีสซิ่ง แบบไหนลดหย่อนภาษีได้มากกว่า ?

เช่าซื้อและลิซซิ่งนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังนั้นกิจการควรพิจารณาว่ากิจการของตนนั้นมีมีลักษณะอย่างไร และ ควรใช้แบบไหนถึงคุ้มค่ามากกว่ากัน ซึ่งทางเราสามารถสรุปเอาไว้สั้น ๆ เพื่อให้ทุกคนได้นำไปตัดสินใจเลือกใช้กับกิจการของตนเอง ดังนี้

พิจารณาจากกิจการ

  • กิจการที่มีกำไรสูงและต้องการลดกำไรเพื่อให้เสียภาษีน้อยลง ควรเลือกแบบลีสซิ่ง
  • สำหรับกิจการขนาดเล็ก หรือ SME ที่ยังมีภาระหนี้และภาระภาษีไม่มากนัก ควรเลือกแบบเช่าซื้อ  

พิจารณาจากสินทรัพย์

  • มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์บ่อย ควรเลือกแบบลีสซิ่ง
  • สินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานนาน ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย ควรเลือกแบบเช่าซื้อ   

รถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง  

  • รถยนต์ราคาเกิน 1 ล้านบาท ควรเลือกแบบลีสซิ่ง
  • รถยนต์ราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท ควรเลือกแบบเช่าซื้อ