November 8, 2021 : How to

E-TAX IMPLEMENTATION

ทำใบกำกับภาษีหรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์
ที่ลงลายมือชื่อดิจิทัล

how to etax implementation

การจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (eTax invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (eReceipt) ที่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล ส่งมอบแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และจัดทำข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ XML file (ขมธอ.3-2560) และลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ผ่านช่องทางอัปโหลด (Upload) หรือ Host to Host หรือผ่านผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (การนำส่งวิธี Host to Host และผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด)

การลงลายมือชื่อดิจิทัลแบบ AdES (Advanced Electronic Signature) สามารถตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในเอกสารและสามารถระบุตัวตนของผู้ลงลายมือชื่อได้ มีการเพิ่มกลไกและรายการข้อมูลเพิ่มเติมลงในลายมือชื่อดิจิทัล เช่น เวลาในการลงลายมือชื่อ ข้อมูลที่จะใช้ในการตรวจสอบลายมือชื่อ และจัดเก็บเอกสารในระยะยาว เป็นต้น

icon etax implementation

การจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (eTax invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (eReceipt)

ที่กรมสรรพากรกำหนดจะแยกการลงลายมือชื่อออกเป็น 2 ส่วนคือ

1. การจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PDF, PDF/A-3, XML หรืออื่น ๆ ซึ่งได้ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) แบบ AdES ด้วยใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการ

การจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

PDF/A-3 คือไฟล์ PDF ที่นอกจากจะมีข้อความที่สามารถ copy ออกมาจากเอกสาร (PDF/A) ได้แล้ว ยังเพิ่มคุณสมบัติในการฝังไฟล์แนบไว้ในไฟล์ PDF ได้ เช่น Excel, Word, HTML, CAD หรือ XML การแนบไฟล์นี้จะต้องแนบอยู่ในไฟล์ PDF/A สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ว่าด้วยการจัดทำหนังสือรับรองในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เลขที่ ขมธอ. 11-2560

ประโยชน์ของการใช้ไฟล์ PDF/A-3 ที่กรมสรรพากรเลือกใช้

  1. คนอ่านได้ เนื่องจากเมื่อเปิด PDF/A-3 แล้วคนสามารถอ่านออกเหมือน PDF ทั่วไป
  2. เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านออก เนื่องจากกรมสรรพากรบอกให้แนบไฟล์ XML ที่มีโครงสร้างตามที่ระบุไว้ที่เอกสาร ข้อเสนอแนะมาตรฐานฯการใช้ข้อความ XML สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาน (ขมธอ. 14-2560)เพื่อให้ซอฟต์แวร์ของกรมสรรพากรอ่านข้อมูลได้

2. การจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำส่งข้อมูลให้แก่กรมสรรพากร

จัดทำข้อมูลใบกำกับภาษีหรือใบรับเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบมีโครงสร้าง โดยใช้ XML format ตามข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA Recommendation on ICT standard for Electronic Transaction) ขมธอ.3-2560

ข้อมูล XML ที่จัดทำขึ้นต้องลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ในรูปแบบ XAdES ด้วยใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์

pdf/a-3 example
ภาพตัวอย่างไฟล์ PDF/A-3 ที่แนบไฟล์ XML ไว้ ตามแบบที่กรมสรรพากรต้องการ
etax xml example 1
etax xml example 2
etax xml example 3
ภาพตัวอย่างใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในรูปแบบ XML และมีลายมือชื่อดิจิทัลแทรกอยู่ในข้อความ
icon etax implementation

การตรวจสอบโครงสร้างข้อมูล XML (XML Schema และ Schematron) eTax invoice

การนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้กรมสรรพากร ระบบรับรองข้อมูลของกรมสรรพากรจะตรวจสอบโครงสร้างข้อมูลและเงื่อนไขการใช้ข้อมูล (XML Schema และ Schematron) ว่าเป็นไปตามมาตรฐาน ขมธอ.3-2560 หรือไม่ เช่น ตรวจสอบประเภทของข้อมูล ความยาวของข้อมูลความสัมพันธ์ของข้อมูล สถานะของใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์จะต้องไม่หมดอายุ หรือไม่ถูกเพิกถอน รวมถึงรูปแบบของลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature)

กรณีนำส่งข้อมูลแล้วพบว่ามีข้อความตอบกลับ (Response Message) หรือมีสถานะนำส่งไม่สำเร็จผู้ประกอบการต้องปรับปรุงไฟล์ข้อมูลให้ถูกต้องพร้อมลงลายมือชื่อดิจิทัล และนำส่งข้อมูลใหม่อีกครั้ง

ดังนั้น ผู้ประกอบการที่พัฒนาระบบการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง แนะนำให้จัดทำข้อมูล XML ทดสอบและตรวจสอบโครงสร้างข้อมูลผ่านเว็บไซต์ https://etax.rd.go.th เมนู สนับสนุน > ตรวจสอบโครงสร้างข้อมูล

rd xml validation web
หน้าเว็บตรวจสอบโครงสร้างข้อมูล XML

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมสรรพากร

YOU MIGHT ALSO LIKE