You are currently viewing ไขข้อข้องใจ Tax Point เกิดตอนไหนแล้วต้องทำอย่างไร ?

ไขข้อข้องใจ Tax Point เกิดตอนไหนแล้วต้องทำอย่างไร ?

  • Post author:
  • Post category:e-tax invoice

  เมื่อกิจการมีการจด VAT กิจการจำเป็นต้องมีการออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ ซึ่งผู้ประกอบการหลายท่านอาจมีการเข้าใจผิดว่าการออกใบกำกับภาษีนั้น จะออกให้ก็ต่อเมื่อมีการรับชำระค่าสินค้าและค่าบริการแล้วเท่านั้น หากแต่ทางสรรพากรได้กำหนด TAX POINT หรือจุดความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ โดยมีจุดความรับผิดชอบแตกต่างกันไปตามรูปแบบของกิจการ ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ TAX POINT หรือจุดความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้กับกิจการของตนเองค่ะ

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Tax Point คืออะไร ?

  TAX POINT หมายถึง จุดที่ผู้ประกอบการถูกกำหนดโดยกฎหมาย ว่ามีภาระภาษีเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ ดังนี้

  1. เกิดสิทธิ เรียกเก็บ VAT จากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ
  2. มีหน้าที่จัดทำและส่งมอบใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ หรือ ผู้รับบริการ และนำยอดขาย ภาษีขาย ไปลงในรายงานภาษีขาย

เมื่อทราบถึงความหมายของ TAX POINT ต่อมา เราจะมาดูจุดความรับผิดชอบ โดยสามารถแยกเป็นจุดความรับผิดชอบตามกิจการได้ดังนี้

right-arrow

ประเภทที่ 1 : ธุรกิจขายสินค้า

  1. ขายสินค้าทั่วไป จุดความรับผิดชอบในการเสียมูลคาเพิ่มจะเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ
  2. การขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อ / สัญญาซื้อขายผ่อนชำระ โดยที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ เมื่อได้ทำการส่งมอบแล้ว จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดชำระราคาตามงวดที่ถึงกำหนดชำระแต่ละงวด
  3. การขายสินค้า โดยมีการตั้งตัวแทนขาย เมื่อมีการตั้งตัวแทนขายและได้ทำการส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนแล้ว จุดความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูค่าเพิ่มของผู้ขายจะเกิดขึ้นเมื่อตัวแทนได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว
  4. การขายสินค้าโดยการส่งออก จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อชำระอากรขาออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรหรือวันที่ได้มีการวางค้ำประกันอากรขาออก
  5. การขายสินค้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ในกรณีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 ซึ่งจะทำให้ผู้รับโอนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จุดความรับผิดชอบจะเกิดขึ้นเมื่อโอนกรรมสิทธิ์สินค้า
right-arrow

ประเภทที่ 2 : ธุรกิจการให้บริการ

  1. การให้บริการโดยทั่วไป จุดความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระค่าบริการ /รับเงินจ่ายล่วงหน้า / เงินมัดจำหรือเงินจอง
  2. การให้บริการตามสัญญาที่กำหนดค่าตอบแทนตามส่วนของบริการที่ทำ จุดความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการตามส่วนของบริการนั้น ๆ
  3. การให้บริการที่ทำในต่างประเทศ แต่ได้มีการใช้บริการที่ประเทศไทย จุดความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เกิดขึ้นเมื่อมีการรับชำระค่าบริการทั้งหมดหรือบางส่วนแล้ว
  4. การให้บริการและได้รับชำระด้วยเช็ค จุดความรับผิดชอบเกิดขึ้นตามวันที่ปรากฏในเช็ค ผู้ประกอบการต้องออกใบกำกับภาษีและใบรับตามวันที่เช็ค
right-arrow

ประเภทที่ 3 : กิจการนำเข้าสินค้า

  1. จุดความรับผิดในการเสียภาษีภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการนำเข้าโดยทั่วไป เกิดขึ้นเมื่อชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรหรือเมื่อมีการวางค้ำประกันอากรขาเข้า
  2. การนำเข้าสินค้าในราชอาณาจักร เข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออก ความรับผิดชอบเกิดในวันที่ได้มีการนำสินค้าออกจากเขตอุตสาหกรรม
right-arrow

ประเภทที่ 4 : การขายสินค้าหรือให้บริการกรณีพิเศษ

  1. การขายกระแสไฟฟ้า น้ำประปา หรือสินค้าที่มีลักษณะเดียวกัน มี 2 กรณี คือ
    1. หากมีการชำระก่อน จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาสินค้า
    2. หากมีการออกใบกำกับภาษีก่อน จุดความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นเมื่อออกใบกำกับภาษี
  1. การขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง เช่น สิทธิในสิทธิบัตร กู๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สัมปทานค่าสิทธิ หรือสินค้าในทำนองเดียวกัน จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาสินค้า
  2. การขายสินค้าหรือให้บริการด้วยเครื่องอัตโนมัติ จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดเมื่อนำเงินออกจากเครื่อง
  3. การขายสินค้าหรือการให้บริการโดยการชำระราคาด้วยการใช้บัตรเครดิต หรือในลักษณะทำนองเดียวกัน จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบ เว้นแต่มีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต จุดความรับผิดชอบจะเปลี่ยนมาเป็นเมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต
  4. ผู้ประกอบการนำสินค้าออกไปใช้เองหรือนำไปให้ผู้อื่น โดยไม่ได้ใช้เพื่อการประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อนำไปใช้หรือส่งมอบสินค้า ให้บุคคลอื่นเพื่อใช้ (ในกรณีนี้ไม่ต้องจัดทำใบกำกับภาษี)
  5. กรณีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการตรวจพบ
  6. กรณีผู้ประกอบการมีสินค้าคงเหลือ และหรือทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบการ ณ วันเลิกกิจการ จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อเลิกประกอบกิจการหรือแจ้ง เลิกประกอบกิจการ
  7. นำสินค้าหรือบริการไปใช้ในการผลิตสินค้า การให้บริการ และการบริหารงานของกิจการ ซึ่งถือเป็นบริการเพื่อการรับรอง จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้ใช้บริการไม่ว่าตนเองหรือบุคคลอื่นก็ตาม

สรุป Tax Point เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจกับจุดความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าได้ง่ายขึ้น

Tax Point
Tax Point
Tax Point