You are currently viewing เรื่องน่ารู้ของ “VAT 0” และ “ไม่ต้องเสีย VAT” ในการขายสินค้าและบริการ”

เรื่องน่ารู้ของ “VAT 0” และ “ไม่ต้องเสีย VAT” ในการขายสินค้าและบริการ”

  • Post author:
  • Post category:e-tax invoice

ภาษีมูลค่าเพิ่ม(Value Added Tax หรือ VAT) คือภาษีประเภทหนึ่งตามประมวลรัษฎากรซึ่งกรมสรรพากรเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบจัดเก็บ โดยจัดเก็บได้จาก  

  • มูลค่าของการซื้อขายสินค้าหรือการให้บริการในประเทศ  
  • การนำเข้าสินค้า  
  • การให้บริการที่ทำต่างประเทศและนำบริการนั้นเข้ามาใช้ในประเทศด้วย 

หากกิจการมีคุณสมบัติตรงตามนี้ จะมีการจัดเก็บอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7%

แต่นอกจาก VAT 7% ที่เรารู้จักกันแล้วยังมี VAT 0 และ Non VAT (ไม่ต้องเสีย VAT) ด้วยบทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจในเรื่องนี้

right-arrow

ใครบ้างที่ต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ​

  1. ผู้ประกอบกิจการที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี 
  2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือบริการ ที่อยู่ในข้อบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้าง โรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือติดตั้งเครื่องจักร 
  3. ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือบริการในราชอาณาจักร โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนรับผิดชอบในการจดทะเบียน 
right-arrow

VAT 0 คืออะไร มีกรณีไหนบ้างที่ เป็น VAT 0 ?

VAT 0 มีผลเทียบเท่ากับการไม่เก็บภาษี แต่ยังต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ.30 แสดงรายการภาษีขายและรายการภาษีซื้อ ซึ่งจะได้คืนในส่วนของภาษีซื้อทั้งหมด โดยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าหรือบริการที่ส่งออก หรือนำไปใช้ยังต่างประเทศ ไม่ได้มีการใช้สินค้าหรือบริการในประเทศ จึงจะได้รับอัตราภาษีร้อยละ 0 มีผลเท่ากับไม่ต้องเสียภาษีจากการขายสินค้าหรือการให้บริการนั้น 

ในกรณีที่จะนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 0 นั้นต้องเกิดจากการ

  1. มีรายได้ ตามมาตรา 80/1 
  2. ขายสินค้าหรือให้บริการโดยการส่งออก 
  3. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเลที่กระทำโดยผู้ประกอบ 
    การที่เป็นนิติบุคคล 
  4. การขายสินค้าหรือการให้บริการกับภาครัฐ ทั้งกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ 
  5. การขายสินค้าหรือการให้บริการกับองค์การสหประชาชาติทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ 
    สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่สถานกงสุล 
  6. การขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บนหรือระหว่าง 
    ผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการที่อยู่ในเขตปลอดอากรไม่ว่าจะอยู่ในเขตเดียวกันหรือไม่ หรือระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร 

ตัวอย่างของการเสีย VAT 0 คือ หากบริษัทมีการส่งสินค้าไปขายยังต่างประเทศ 200,000 บาท ต้องมีหน้าที่ที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ.30 แสดงรายการภาษีขาย และรายการภาษีซื้อทั้งหมด โดยมีการคิดในอัตรา 0 % ซึ่งจะเท่ากับไม่ต้องจ่ายภาษีในการส่งออก 200,000 บาท แต่ต้องมีการออกใบกำกับภาษี และต้องการนำมารวมคำนวณในแบบ ภ.พ.30 ข้อ 2

right-arrow

การยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม

การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ การไม่นำรายได้มาคำนวณภาษีซึ่งจะต้องมีการนำมารวมคำนวนใน แบบ ภ.พ.30 ข้อ 3 ซึ่งจะได้รับการยกเว้นในกิจการบางประเภท ที่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด 

โดยมีกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ยกตัวอย่าง ดังนี้ 

  1. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน 
  2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี 
  3. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน 
  4. การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 
  5. การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร 
right-arrow

ใครบ้างที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี 
  2. ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย 
  3. ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว (ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร) 
  4. ผู้ประกอบการที่ได้รับการประกาศจากกรมสรรพากร 

ตัวอย่างการได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการขายสินค้าทางเกษตร มีรายได้ 1,000,000 บาท ผู้ประกอบการไม่ต้องมีการยื่นแบบแสดงรายการ 

right-arrow

ข้อแตกต่างของ VAT 0 vs ยกเว้น VAT มีดังนี้

จากข้อมูลข้างต้นทำให้สรุปความแตกต่างของ ภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 0 และการได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้

VAT 0 vs Non VAT

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ถือเป็นภาษีที่ผู้ประกอบการต้องจ่าย โดยมีกรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บ ซึ่งจะเก็บจากมูลค่าของการซื้อขายสินค้าหรือการให้บริการในประเทศ การนำเข้าสินค้า และการให้บริการที่ทำต่างประเทศและนำบริการนั้นเข้ามาใช้ในประเทศ โดยจะจัดเก็บในอัตราร้อยละ 7 หากแต่ในบางกิจการจะมีการจัดเก็บในอัตราที่น้อยกว่า คือ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ซึ่งได้รับสิทธิตามประมวลรัษฎากร ซึ่งมีกิจการที่เกี่ยวข้องกับการส่งอกทั้งหมด หรือ การขายสินค้าให้กับภาครัฐ โดยจะต้องมีการยื่นแบบแสดงภ.พ.30 และต้องมีการออกใบกำกับภาษี โดยจะขอคืนในส่วนของภาษีซื้อ ซึ่งมีความแตกต่างกับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ที่ได้รับการยกเว้น คือ กิจการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและสัตว์ทางการเกษตร รวมถึงกิจการที่มีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาท โดยกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ แต่จะไม่สามารถใช้ภาษีซื้อเพื่อขอคืนได้