You are currently viewing ภาษีน่ารู้ของ “แม่ค้าออนไลน์” มือใหม่

ภาษีน่ารู้ของ “แม่ค้าออนไลน์” มือใหม่

  • Post author:
  • Post category:e-tax invoice

ในยุค COVID-19 ทำให้อาชีพและสิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีทั้งอาชีพที่แย่ลงหลังจาก COVID-19 และอาชีพที่บูมขึ้นมา นั่นก็คือ อาชีพ “แม่ค้าออนไลน์”  เนื่องจากสถาณการณ์ในปัจจุบันที่ต้องเว้นระยะห่างกับคนอื่น ความล้ำสมัยของเทคโนโลยีในปัจจุบัน และการขนส่งที่รวดเร็ว ทำให้อาชีพแม่ค้าออนไลน์ เป็นอาชีพที่ตอบโจทย์คนในยุคนี้เป็นอย่างมาก ความสะดวกสบายนี้เองทำให้มีเหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หน้าใหม่ แวะเวียนมาเปิดร้านในแพลตฟอร์มต่าง ๆ มากขึ้นอย่างรวดเร็ว  ดังนั้นเรื่องน่ารู้ของแม่ค้าออนไลน์มือใหม่ นอกจากจะต้องหาสินค้า แต่งรูป ไลฟ์สด เพื่อเพิ่มความปังของร้านแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องสนใจและควรให้ความสำคัญ นั่นก็คือ ภาษีขายของออนไลน์

right-arrow

เริ่มแรก แม่ค้าออนไลน์ มาทำความรู้จักกับ ‘ภาษีขายของออนไลน์ ’ กันก่อน

ภาษี ถือเป็นรายได้ของประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่จะต้องเสียภาษี มีหลายๆ คน เข้าใจผิดว่าการขายของออนไลน์นั้น ไม่จำเป็นต้องยื่นภาษี ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อเรามีรายได้เข้ามาเกินที่กำหนด ผู้มีรายได้ทุกคนต้องมีการยื่นภาษี ไม่ว่ารายได้จะถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นการขายของออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ก็ต้องมีการเสียภาษีเช่นกัน โดยภาษีของการขายของออนไลน์ นับเป็นภาษีเงินได้ ถูกจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 8 คือเงินได้จากการค้าขาย

ซึ่งจะมีการแบ่งการคำนวณเป็นสองประเภท คือ

right-arrow

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปและมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด

right-arrow

รายได้เท่าไรถึงต้องมีการยื่นภาษีจากการ ‘ขายของออนไลน์’

แม่ค้าออนไลน์มือใหม่ ที่มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา เมื่อมีรายได้จาการขายของออนไลน์ตั้งแต่ 60,000 บาทต่อปี จะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

right-arrow

วิธี ‘คำนวณภาษี’ ของ แม่ค้าออนไลน์

แม่ค้าออนไลน์มือใหม่ที่มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา จะต้องมีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ แบบหักตามจริง และแบบเหมา 60%

  1. หักค่าใช้จ่ายตามจริง จะเหมาะกับแม่ค้าออนไลน์มือใหม่ ที่มีต้นทุนของสินค้าสูง เพราะวิธีนี้จะทำให้สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง โดยวิธีนี้ต้องจัดเก็บรวบรวม บัญชีรายรับรายจ่าย พร้อมทั้งหลักฐานต่าง ๆ ไว้ให้ครบถ้วน เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบและช่วยลดความสับสนเมื่อต้องยื่นภาษี
  2. หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% จะเหมาะกับแม่ค้าออนไลน์ที่มีกำไรเยอะ ซึ่งการหักแบบเหมาจ่ายจะมีข้อดี คือ ไม่ต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่ายใด ๆ ให้สรรพากร และแม่ค้าออนไลน์มือใหม่จะได้ประโยชน์ทางภาษีจากส่วนต่างของต้นทุนที่แท้จริง กับค่าใช้จ่ายแบบเหมา
right-arrow

ภาษีอะไรบ้างที่ต้องยื่นสำหรับ แม่ค้าออนไลน์ มือใหม่ ที่เป็นบุคคลธรรมดา

ภาษีที่ควรรู้และต้องยื่นสำหรับแม่ค้าออนไลน์มือใหม่ที่เป็นบุคคลธรรมดา คือ คือ ภ.ง.ด. 94 และ ภ.ง.ด. 90 โดยจะต้องยื่นภาษีตามที่กรมสรรพากรกำหนด ดังนี้

  • รอบแรก คือการยื่น ภ.ง.ด. 94 หรือการยื่นภาษีครึ่งปี ช่วง ก.ค. – ก.ย. ของทุกปี ทำการยื่นภาษีโดยนำเงินได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. มาแสดงในการยื่นภาษี ตามแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 94 ภายในวันที่ 1 ก.ค.-30 ก.ย. ในปีเดียวกัน
  • รอบที่สอง คือการยื่น ภ.ง.ด. 90 ยื่นภาษีปลายปี ช่วง ม.ค. – มี.ค. ของทุกปี ทำการยื่นภาษีโดยนำเงินได้ทั้งปี มากรอกในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90  ภายในวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. ของปีถัดไป
right-arrow

2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

คือ ภาษีที่จัดเก็บจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ และบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี

right-arrow

วิธี ‘คำนวณภาษี’ ของ แม่ค้าออนไลน์ มือใหม่

แม่ค้าออนไลน์มือใหม่ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลทั้ง ห้างร้าน บริษัท จะต้องมีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งจะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้แบบหักตามจริงเท่านั้น โดยวิธีนี้จะทำให้บริษัท ห้างร้าน สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง โดยแม่ค้าออนไลน์จะต้องมีการเก็บหลักฐานค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบ

right-arrow

ภาษีอะไรบ้างที่ต้องยื่นสำหรับ แม่ค้าออนไลน์ มือใหม่ ที่เป็นนิติบุคคล

  • รอบแรก คือการยื่น ภ.ง.ด.51 หรือการยื่นภาษีครึ่งปี ช่วง ก.ค. – ส.ค. ของทุกปี ทำการยื่นภาษีโดยนำเงินได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. มาแสดงในการยื่นภาษี ตามแบบฟอร์ม ภ.ง.ด.51 ภายในวันที่ 1 ก.ค.-31 ส.ค. ในปีเดียวกัน
  • รอบที่สอง คือการยื่น ภ.ง.ด.50 ทำการยื่นภาษีโดยนำเงินได้ทั้งปี มากรอกในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด.50 ยื่นภายในเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป

ทั้งนี้ แม่ค้าออนไลน์มือใหม่บางท่านที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท จะต้องมีการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องจดทะเบียน VAT และยื่นภาษีทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และมีหน้าที่ต้องออก ใบกำกับภาษี ให้กับลูกค้าด้วย

right-arrow

สรุปข้อแตกต่างขอการยื่นภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา สำหรับ แม่ค้าออนไลน์ มือใหม่

ภาษี แม่ค่าออนไลน์