You are currently viewing ภ.ง.ด. 51 คืออะไรและมีการกำหนดระยะเวลาการยื่นแบบอย่างไร
etax PND51

ภ.ง.ด. 51 คืออะไรและมีการกำหนดระยะเวลาการยื่นแบบอย่างไร

  • Post author:
  • Post category:e-tax invoice

       ภ.ง.ด 51 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (6 เดือน) หรือ อธิบายง่ายๆว่าการจ่ายภาษีนิติบุคคลให้แก่กรมสรรพากรก่อนสำหรับ กำไรในรอบ 6 เดือนแรกหลังจากนั้นจึงคำนวณค่าภาษีอีกครั้งตอนสิ้นปี (ภ.ง.ด. 50)

       ภ.ง.ด. 51 ต้องยื่นภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันสุดท้ายของครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (หากยื่นไม่ทันตามกำหนดนี้จะมี เบี้ยปรับ + เงินเพิ่ม)

ยกตัวอย่างเช่น

       กรณีรอบบัญชีปกติตามปีปฎิทิน คือ เริ่มวันแรกในวันที่  1 มกราคม และ สิ้นสุดวันที่  31 ธันวาคม ของทุกปีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจะต้องจัดทำและยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 ภายใน วันศุกร์ที่  31 สิงหาคม 2562  (คำนวณจากกลางปี คือ  30 มิถุนายน 2562 ***บวก 2 เดือน คือ 31 สิงหาคม 2562)

***โดยหากยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ต กรมสรรพากรได้ขยายกำหนดการยื่นแบบฯ ทุกประเภทภาษีออกไปอีก 8 วัน ตรงกับวันจันทร์ที่ 10 กันยายน 2562***

       หมายเหตุ : นิติบุคคลที่เพิ่งจดทะเบียนบริษัท ปีแรกจะยังได้รับยกเว้น ไม่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 สำหรับปีแรกที่เพิ่งจดจัดตั้งฯ เท่านั้น

ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 คือใครบ้าง 

       1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ 

       2. บริษัทจดทะเบียนธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเสียภาษีจากกำไรสุทธิ (ขาดทุนสุทธิ) จริงในครึ่งปีแรก

วิธีการคำนวณภาษีเงินได้เพื่อยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 มีสองวิธี คือ

       1. กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิทั้งปีใช้กับบริษัทฯทั่วไป กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการบริการ SME STart Up (ส่วนใหญ่ใช้วิธีนี้)

       2. กำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนแรกใช้กับบริษัทดังต่อไปนี้

               •   บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ไม่ต้องแนบงบแสดงสถานะทางการเงิน และหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

               •   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประกาศอธิบดีกรมกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฯ ตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องมีการแนบงบแสดงสถานะทางการเงินและหนังสือของผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินด้วย

ค่าปรับกรณียื่นแบบพ้นกำหนดระยะเวลา

       ค่าปรับอาญา 

         –  กรณียื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ปรับ 1,000 บาท
         –  กรณียื่นแบบพ้นกำหนด 7 วันไปแล้วจะต้องเสียค่าปรับ 2,000 บาท

       เงินเพิ่ม 

           กรณีที่ผู้เสียภาษีมีภาษีที่ต้องชำระ จะมีภาระ “เงินเพิ่ม” โดยมีวิธีการคำนวณ ดังนี้

        1.) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าไม่เกิน 2 วันให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.1% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ

        2.) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าเกินกว่า 2 วันแต่ไม่เกิน 7 วันให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.5% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ 

        3.) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าเกินกว่า 7 เป็นต้นไปให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระ  จนกว่าเงินเพิ่มจะครบ 20% ของภาษี

ข้อระวังสำหรับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51

       กรณียื่นแบบและชำระภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิ แล้วแสดงประมาณการกำไรสุทธิ ขาดเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุผลอันควร

กรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควร
1. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว
2. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำหรือจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นไม่น้อยกว่ากำไรสุทธิที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว แต่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว เนื่องจากได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษี
***จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระไว้ขาด***

การแก้ไขกรณี ยื่นแบบ ภ.ง.ด 51 ขาดไปเกินกว่า 25% ให้ยื่นเพิ่มเติมก่อนยื่น ภ.ง.ด 50 2562

       หากบริษัทได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการโดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือให้ลดเงินเพิ่มได้แต่ต้องเสียในอัตราและตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(ก) ถ้าชำระภายใน 2 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการให้เสียร้อยละ 0.10 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ

(ข) ถ้าชำระภายหลัง 2 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการให้เสียร้อยละ 0.50 ของเงินภาษีที่ต้องชำระเกินกว่านั้นให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนไม่เกินร้อยละ 20

ขอบคุณที่มา : AccountWorks, สรรพากร