หลายๆ ท่านที่ศึกษารายละเอียดโครงการ e-tax invoice / e-receipt กันมาพอสมควร มีความรู้และความเข้าใจถึงประโยชน์ที่จะเกิดกับบริษัทของท่าน และมีความเห็นว่าต้องเริ่มทำกันจริงจังแล้ว “ผมก็ยินดีกับท่านด้วย” เพราะนี่ถือเป็นหนึ่งในก้าวสำคัญที่จะเปลี่ยนการทำงานของท่านและบุคคลากรไปในทางที่ดี เพื่อให้ธุรกิจของท่านดำเนินไปได้อย่างคล่องตัว แล้วจะต้องเริ่มทำอย่างไรถึงจะทำโครงการนี้สำเร็จ
เริ่มต้นที่คำถามว่ากิจการของท่านขนาดไหน
- ขนาดใหญ่ รายได้ มากกว่า 500 ล้านบาทต่อปี
- ขนาดกลาง รายได้ มากกว่า 30 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 500 ล้านบาท
- ขนาดเล็ก รายได้ มากกว่า 8 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 30 ล้านบาท
- ขนาดไมโคร รายได้ ไม่เกิน 8 ล้านบาท
: การส่งใบกำกับอิเล็กทรอนิกส์แบบ e-tax Invoice by Email
- ผู้ขายสร้างใบกำกับภาษีในรูปแบบ PDF/A-3 แล้วทำการส่ง email โดยระบุ
- To email ของผู้ชื่อ
- CC email csemail@etax.teda.th จะเป็นระบบ Timestamp ของสพทอ. (TeDA)
- Subject จะต้องใส่รายละเอียดแยกตามประเภทดังนี้
- ใบกำกับภาษี
[วันที่ออกใบกำกับภาษี][INV][เลขที่ใบกำกับภาษี]
- ใบเพิ่มหนี้
[วันที่ออกใบเพิ่มหนี้][DBN][เลขที่ใบเพิ่มหนี้]
- ใบลดหนี้
[วันที่ออกใบลดหนี้][CRN][เลขที่ใบลดหนี้]
- ยกเลิกใบกำกับภาษี
[วันที่ออกใบกำกับภาษี][CIV][เลขที่ใบกำกับภาษีที่ต้องการยกเลิก]
- การออกใบกำกับภาษีใบใหม่แทนใบที่ยกเลิก
[วันที่ออกใบกำกับภาษี][INV][เลขที่ใบกำกับภาษีใหม่][เลขที่ใบกำกับภาษีเดิม]
Ex. [01082560][INV][101/2560]
- เมื่อระบบ Time Stamp ได้รับ email แล้วจะนำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่แนบมาทำการประทับรับรองเวลา และหลังจากนั้นระบบจะส่งไฟล์ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่ประทับรับรองเวลาแล้วส่ง email กลับไปให้ผู้ขายและผู้ซื้อ
- ผู้ซื้อสามารถนำไฟล์ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ไปตรวจสอบความถูกต้องของการประทับรับรองได้ที่ https://validation.etax.teda.th
: การส่งใบกำกับอิเล็กทรอนิกส์แบบ Host to Host
Host to Host เป็นวิธีการนำส่งข้อมูล โดยผู้ประกอบการทำการเชื่อมระบบการรับส่งข้อมูลโดยตรงกับกรมสรรพากรเพื่อนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน เหมาะสำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่และอยู่ในความดูแลของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ (LTO) ที่มีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก มีความพร้อมในการพัฒนาระบบ การใช้ช่องทางการนำส่งวิธีนี้ผู้ประกอบการต้องยื่นคำขออนุมัติต่อกรมสรรพากรเพื่อพิจารณาคุณสมบัติและ ทำการทดสอบนำส่งข้อมูลผ่านระบบของกรมสรรพากรก่อน
ขั้นตอนการยื่นคำขอและทดสอบการนำส่งข้อมูล
ขั้นตอนที่ 1 ยื่นคำขอนำส่งข้อมูลแบบ Host to Host
- ยื่นความประสงค์ขอนำส่งข้อมูลแบบ Host to Host
- ผู้ประกอบการเตรียม SSL Certificate
- เตรียมข้อมูลเพื่อกำหนดค่าระบบของหน่วยงานให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกันได้ (CPA)
- ระบบจัดทำ CPA และแจ้งรหัสผ่านการนำส่งทดสอบทางอีเมลของผู้ประกอบการ
ขั้นตอนที่ 2 ทดสอบการนำส่งข้อมูลกับกรมสรรพากร
- ดาวน์โหลด CPA ทดสอบ ที่บริการสมาชิก
- นำ CPA ทดสอบไปตั้งค่าในระบบของผู้ประกอบการที่เชื่อมต่อกับกรมสรรพากร
- สร้างข้อมูลใบกำกับภาษีหรือใบรับตามมาตรฐาน XML File เพื่อนำส่งทดสอบ
- ส่งข้อมูลทดสอบด้วยรหัสการนำส่งทดสอบตามเงื่อนไขที่กำหนด
- ระบบตรวจสอบเงื่อนไขตามที่กำหนดและแจ้งผลการนำส่งทางอีเมล์
ขั้นตอนที่ 3 ผ่านการทดสอบระบบจะให้ดาวน์โหลด CPA จริง
การนำส่งข้อมูล XML File ด้วยวิธี Host to Host เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ Electronic Business Extensible Markup Language (ebXML) โดยมีแนวทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานตามข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ขมธอ. 14-2560
: การส่งใบกำกับอิเล็กทรอนิกส์แบบ Service Provider ทำอย่างไร
Service Provider เป็นผู้ให้บริการ หรือเป็นตัวแทนนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะเป็นผู้ช่วยจัดการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และเป็นผู้นำส่งข้อมูลแทนผู้ประกอบการ (ผู้ใช้บริการ) ด้วยระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงกับระบบของกรมสรรพากร ด้วยมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยในระบบสารสนเทศ โดยผู้ให้บริการ Service Provider มีระบบงานสนับสนุนการทำงานที่เกี่ยวข้องให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้บริการตามหลักเกณฑ์และคุณสมบัติที่กรมสรรพากรกำหนด ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ประสงค์นำส่งข้อมูลผ่าน Service Provider สามารถติดต่อใช้บริการตามรายชื่อ ผู้ให้บริการที่ได้รับอนุมัติซึ่งกรมสรรพากรจะประกาศรายชื่อบนเว็บไซต์
: การส่งใบกำกับอิเล็กทรอนิกส์แบบ Upload XML ทำอย่างไร
ผู้ประกอบการที่มีข้อมูลจำนวนไม่มากและสามารถจัดทำข้อมูลใบกำกับภาษีและใบรับเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และลงลายเซ็นดิจิตอลได้ด้วยตนเอง สามารถนำส่งไฟล์โดยวิธีการอัพโหลดไฟล์ XML ผ่านเว็บไซต์ e-Tax Invoice & e-Receipt ที่ระบบ Upload XML
ขั้นตอนการนำส่งข้อมูลแบบ Upload File
- จัดเตรียมไฟล์ข้อมูล XML สำหรับนำส่ง ได้แก่ ใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับ
- เข้าสู่ระบบบริการสมาชิก เลือก Upload XML
- เลือกประเภทเอกสาร และไฟล์ข้อมูลที่ต้องการนำส่ง (การนำส่งต่อครั้งต้องมีข้อมูลไม่เกิน 2 MB)
- ระบบทำการตรวจสอบโครงสร้างข้อมูล (Schema & Schematron)
- ตรวจสอบผลการนำส่งที่ระบบ Tracking
: การส่งใบกำกับอิเล็กทรอนิกส์แบบ RD Portal เค้าทำอย่างไร
เป็นระบบบริการของกรมสรรพากรที่มีฟังก์ชันการจัดทำเอกสารและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร (ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt) เหมาะสำหรับกิจการขนาดเล็กที่ไม่มีซอฟต์แวร์ในการจัดการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบอย่างง่ายผ่านทางออนไลน์
ขั้นตอนการจัดทำและนำส่งข้อมูลผ่าน RD Portal
- เข้าเว็บไซต์ e-Tax Invoice & e-Receipt
- เข้าสู่ระบบบริการสมาชิก เลือกบริการ RD Portal
- จัดการข้อมูลรายการสินค้า และข้อมูลคู่ค้าของกิจการ
- จัดทำเอกสารตามประเภท ใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ หรือใบรับ
- จัดเตรียมใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ และเชื่อมต่ออุปกรณ์ Token เพื่อลงลายเซ็นดิจิตอลด้วยโปรแกรม Ultimate Sign & Viewer
- ดาวน์โหลดเอกสารส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
ทั้งนี้ การจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบบริการ RD Portal บนเว็บไซต์กรมสรรพากร ข้อมูลจะนำส่งกรมสรรพากรทันทีที่ทำรายการเสร็จสมบูรณ์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมสรรพากร