You are currently viewing การจัดการเรื่อง “ภาษีโฆษณาออนไลน์”

การจัดการเรื่อง “ภาษีโฆษณาออนไลน์”

  • Post author:
  • Post category:tax

    สำหรับผู้ประกอบที่กำลังดำเนินธุรกิจจะเข้าใจดีว่า สินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการจะดีแค่ไหน หากแต่ขาดการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ย่อมไม่อาจดึงดูดลูกค้าได้ ยิ่งในยุคที่การแข่งขันทางการค้าสูงมากขึ้น การโปรโมทตัวเองก็ยิ่งเป็นสิ่งสำคัญ และผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็ให้ความสำคัญกับส่วนนี้ แต่ในปัจจุบันได้มีการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกับธุรกิจที่ให้บริการออนไลน์ ซึ่งแน่นอนว่าจะกระทบกับการโฆษณาผ่านช่องทางต่าง ๆ  ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องมีการเรียนรู้และปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ วันนี้เราจึงขอนำเสนอการจัดการ “ภาษีโฆษณาออนไลน์” ในช่องทางต่าง ๆ แบบง่าย ๆ เพื่อนำไปปรับใช้กับกิจการ

    ก่อนจะทำความรู้จักกับภาษีที่เกี่ยวข้องกับโฆษณาออนไลน์ เรามาดูสาเหตุที่มีการเรียกเก็บภาษีโฆษณาออนไลน์กันก่อน 

    การเก็บภาษีโฆษณาออนไลน์ เกิดจากการประกาศใช้กฎหมาย e-Service ซึ่งถูกบัญญัติขึ้นเพื่อเป็นกฎหมายการเก็บภาษีในรูปแบบของภาษีมูลค่าเพิ่มกับธุรกิจที่ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ เช่น เพลง ภาพยนตร์ สื่อโฆษณา และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยมีการระบุเพิ่มเติมว่ากิจการที่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้จำเป็นที่จะต้องมีรายได้จากการให้บริการในประเทศไทยเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี เท่านั้น

    ดังนั้น เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมาย e-Service ทำให้ผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการ ซึ่งจะกระทบกับการซื้อโฆษณาของผู้ประกอบการที่ใช้ช่องทางการโปรโมททางออนไลน์ 

สำหรับผลกระทบต่อผู้ประกอบการออนไลน์ที่เห็นได้ชัด สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

right-arrow

1. สำหรับผู้ที่ไม่เคยจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

    เมื่อมีการชำระค่าบริการการลงโฆษณา ระบบจะคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % ลงไปและทำการหักค่าบริการพร้อมภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ลงไปด้วย ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการต้องจ่าย ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการจ่ายค่าโฆษณาเพิ่มขึ้นนั้นเอง

right-arrow

2. สำหรับผู้ที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว

    ในระบบของ Facebook และ Google จะมีส่วนให้กรอก VAT ID ซึ่งกรอกไปแล้วทั้งสองระบบจะตรวจสอบว่าเป็น VAT ID ที่ได้ลงทะเบียนไว้ถูกต้องหรือไม่ ในกรณีที่ถูกต้องเรียบร้อย ทั้งสองระบบจะไม่หัก VAT 7% ไว้ ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีภาระที่ต้องยื่นนำส่งภาษี ภ.พ. 36 อยู่แล้วในแต่ละเดือน ซึ่งสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายไปไปเคลมภาษีคืนมาได้

ตัวอย่างการกำหนด VAT ID ใน Facebook Ads

ภาพตัวอย่างประกอบ "การกำหนด VAT ID ใน Facebook Ads"
ภาพตัวอย่างประกอบ "การกำหนด VAT ID ใน Facebook Ads"
ภาพตัวอย่างประกอบ "การกำหนด VAT ID ใน Facebook Ads"
ภาพตัวอย่างประกอบ "การกำหนด VAT ID ใน Facebook Ads"

    เมื่อมีภาษีเข้ามา แน่นอนว่าต้องเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่จะต้องเรียนรู้ และทำความเข้าใจกับภาษีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งภาษีที่เกี่ยวข้องกับโฆษณาออนไลน์ มีดังนี้

right-arrow

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

    ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีตามประมวลรัษฎากรระบุไว้ให้บริษัทหรือห้างนิติบุคคลเป็นผู้เสียภาษี ซึ่งโดยปกติแล้วจะคำนวณจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นเวลา 12 เดือน โดยสามารถนำรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการมาหักในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

    ในส่วนของค่าโฆษณาในช่องทางต่าง ๆ ก็สามารถนำมาใช้เป็นรายจ่ายที่สามารถนำมาหักภาษีในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้  โดยต้องเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง เกี่ยวข้องกับกิจการ และมีหลักฐานการจ่ายเงินถูกต้อง คือ จะต้องมีชื่อกิจการอยู่ในเอกสาร เช่น การจ่ายให้ Facebook หรือ Google ควรออกในนามของกิจการ เพื่อให้สามารถพิสูจน์ได้ว่าเกี่ยวข้องกับกิจการจริง ส่วนเรื่องการจ่ายเงินค่าโฆษณาออนไลน์ส่วนใหญ่จะใช้การจ่ายผ่าน บัตรเครดิต หรือโอนเงิน ซึ่งสามารถใช้หลักฐานในการจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์มาเป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

right-arrow

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

    การจ่ายค่าบริการไปต่างประเทศ โดยที่ผู้ให้บริการไม่มีสถานประกอบการในประเทศไทย และมีการใช้บริการนั้นในประเทศ ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย โดยผู้จ่ายค่าโฆษณา จะต้องยื่นแบบ ภ.พ. 36 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายค่าโฆษณาไป โดยคำนวณจากยอดที่จ่ายจริง เป็นเงินบาท คูณ 7% และกรอกแบบนำส่ง ภ.พ. 36  เมื่อได้นำส่งภาษีตาม ภ.พ. 36 แล้ว ใบเสร็จของกรมสรรพากรถือเป็นภาษีซื้อ ที่สามารถนำมาหักภาษีขายได้ ถือตามวันที่ในใบเสร็จ ภ.พ.36 เป็นภาษีซื้อของเดือนภาษีนั้น ๆ

right-arrow

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น X 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องจ่าย

            ตัวอย่างเช่น หากคุณซื้อโฆษณา Facebook เป็นเงิน 1,000  ก็จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เท่ากับว่าผู้ประกอบการต้องจ่ายค่าโฆษณาให้กับ Facebook ทั้งสิ้น 1,070 บาท

            ซึ่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่นี้จะทำให้ผู้ประกอบการที่ไม่เคยจด VAT มีต้นทุนค่าโฆษณามากขึ้น ยิ่งในธุรกิจที่มีการซื้อโฆษณาเป็นจำนวนมากยิ่งกระทบ ซึ่งอาจส่งผลทำให้ต้องเพิ่มค่าสินค้าหรือบริการ

            ตัวอย่างการซื้อโฆษณาแบบผู้ประกอบการที่จด VAT  หากคุณเป็นกิจการที่จด VAT ซื้อโฆษณา Facebook เป็นเงิน 1,000  Facebook จะเรียกเก็บ 1,000 บาท ซึ่งยังไม่มีการรวม VAT เข้าไปในการซื้อโฆษณา โดยจะต้องยื่น VAT จำนวน 70 บาทด้วยตัวเองด้วย ภ.พ.36 และทำการขอคืนภาษีตรงส่วนนี้ได้

เมื่อเรารู้ภาษีที่เกี่ยวข้องแล้ว ต่อมาเราจะมาทำความรู้จักกับ ภ.พ. 36

ภ.พ. 36 คือ แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร ใช้เมื่อได้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรฯ

right-arrow

ใครบ้างที่ต้องใช้  ภ.พ.36

จ่ายเงินที่จ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ให้แก่

    • ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
    • ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
right-arrow

เอกสารที่ต้องใช้ 

    • ใบเสร็จหรือหลักฐานการจ่ายเงินที่เป็น ‘ชื่อของผู้ประกอบการ’ หรือ ‘ชื่อบริษัท’
    • แบบฟอร์ม ภ.พ. 36  สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของสรรพากร
right-arrow

ขั้นตอนการกรอกฟอร์ม ภ.พ. 36

  1. กรอกข้อมูลผู้นำส่งภาษีให้ครบ ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นข้อมูลของผู้ประกอบการและกิจการของเรา
  2. กรอกข้อมูลการจ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการให้ครบ และระบุเป็น ‘ค่าโฆษณา’
  3. กรอกภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคิดจากสูตร
right-arrow

หากไม่ยื่นแบบจะมีโทษอย่างไร

ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท  เงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน

ตัวอย่างการจัดการเรื่อง ภาษีสำหรับโฆษณาออนไลน์

ภาษีโฆษณาออนไลน์
ภาษีโฆษณาออนไลน์
ภาษีโฆษณาออนไลน์
ภาษีโฆษณาออนไลน์