You are currently viewing สรรพากรดันกฎหมายเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ

สรรพากรดันกฎหมายเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ

  • Post author:
  • Post category:e-tax invoice

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบนาเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากรฯ เพื่อจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือแพลตฟอร์มจาก ต่างประเทศ ตามที่กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรเสนอ ช่วยสร้างความเป็นธรรมและยกระดับระบบภาษีไทย ให้ทัดเทียมนานาชาติ

ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า  “คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ส่งร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการให้บริการ ทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-Service)) ให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรเสนอ ในการจัดทาร่างกฎหมาย ดังกล่าวกรมสรรพากรได้นาผลการศึกษาขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ที่มีข้อเสนอแนะให้ ผู้ประกอบการต่างประเทศหรือดิจิทัลแพลตฟอร์มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและมีหน้าที่นาส่ง ภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่หน่วยงานจัดเก็บภาษี เป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพและดาเนินการได้มากที่สุด ปัจจุบันมีกว่า 60 ประเทศที่นาแนวทางของ OECD มาแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการให้บริการระหว่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ เป็นต้น”

ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า “ร่างพระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติมประมวลรัษฎากรฯกาหนดให้ผู้ให้บริการe-Service จากต่างประเทศหรือแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ (เช่น การให้บริการดาวน์โหลดภาพยนตร์และสื่อบันเทิงต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต) ที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี จากการให้บริการผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์แก่ลูกค้าในประเทศไทยที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและนาส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ กรมสรรพากร เช่นเดียวกับแนวคิดของ OECD ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความง่ายและอานวยความสะดวกในการชาระภาษี สาหรับผู้ใช้บริการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยผู้ให้บริการจากต่างประเทศทาหน้าที่นาส่งภาษีแทน ผ่านระบบบริการจดทะเบียนและชาระภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างง่าย (Simplified VAT)”

ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวสรุปว่า การปรับปรุงกฎหมายในครั้งนี้ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการในประเทศไทยกับผู้ประกอบการในต่างประเทศ ที่ให้บริการในประเทศไทย ทาให้การจัดเก็บภาษีมีความเหมาะสม สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และยังเป็น การปรับปรุงกฎหมายภาษีไทยให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับแนวทางการจัดเก็บภาษีของนานาประเทศ และ กรมสรรพากรคาดว่าการปรับปรุงกฎหมายในครั้งนี้จะช่วยทาให้จัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 3,000 ล้านบาท

ขอบคุณที่มา : กรมสรรพากร