You are currently viewing การทำลายสินค้าอย่างไร ? ให้เป็นรายจ่ายภาษีตามสรรพากร

การทำลายสินค้าอย่างไร ? ให้เป็นรายจ่ายภาษีตามสรรพากร

  • Post author:
  • Post category:e-tax invoice

การทำลาย คือ การทำให้สินค้าไม่มีอยู่หรือไม่อยู่ในสภาพที่เป็นสินค้า อาจทำโดยการเผา การทุบ การบด การตัดเป็นชิ้น ๆ เทหรือฝัง กลบ เป็นต้น แต่ถ้าสินค้ายังมีตัวตนเป็นสินค้าให้เห็นไม่ถือเป็นการทำลาย เช่น การนำสินค้าชำรุดไปบริจาคหรือมอบให้หน่วยงาน จึงไม่ถือว่าเป็นการทำลาย

ใช้งาน getInvoice (e-tax Invoice) หักรายจ่ายค่าบริการระบบดังกล่าวได้ 2 เท่า!!

right-arrow

หลักเกณฑ์และข้อกำหนดในการทำลายสินค้าของกรมสรรพากร

    1. บริษัททำลายสินค้าที่ชำรุด เสียหาย เน่าเสีย เสื่อมคุณภาพหรือล้าสมัย โดยสภาพไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดไม่ถือเป็นการขายสินค้าตาม มาตรา 77/1(8) บริษัทจึงไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าสินค้าที่ได้ทำลายไป
    2. การจะทำลายสินค้าตามหลักปฏิบัติของของกรมสรรพากร ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 79/2541 ได้กำหนดไว้ว่าหากเป็นสินค้าทที่สามารถททำลายได้ จะต้องแจ้งล่วงหน้าเป็นเวลา 30 วันก่อนวันทำลาย
right-arrow

การทำลายสินค้าทางสรรพากรได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • การแจ้งสรรพากร

    • สินค้าที่เก็บรักษาไม่ได้ เช่น อาหาร, เวชภัณฑ์, เคมีภัณฑ์ เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สรรพากร
    • สินค้าที่เก็บรักษาได้ ต้องแจ้งสรรพากรล่วงหน้า 30 วันก่อนวันที่จะทำลาย โดยมีเจ้าหน้าที่สรรพากรเข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย
  • การตรวจสอบสภาพ

    • ต้องตรวจสอบสินค้าว่าเป็นสินค้าล้าสมัยตามนโยบายบริษัทหรือไม่
    • มีหลักฐานการรับคืนสินค้าจากลูกค้า มีรายละเอียดสาเหตุการรับคืน เช่น สินค้ามีตำหนิ หรือ ด้อยคุณภาพ เป็นต้น
  • การอนุมัติ

    • ต้องมีผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องทำการอนุมัติรายการทำลายสินค้าตามเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
  • การสังเกตการณ์

    • บุคลากรจากฝ่ายต่างๆ ของบริษัทร่วมสังเหตุการณ์และเซ็นรับรองในเอกสารการทำลายสินค้า ประกอบด้วย ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายบัญชี หรือ ฝ่ายขาย
    • ต้องเชิญผู้ตรวจสอบบัญชีเข้าร่วมสังเกตการณ์และเซ็นรับรองด้วย

getInvoice ทำให้ e-tax Invoice เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ!!!

“หมายเหตุ : กรมสรรพากรอาจจะเรียกขอเอกสารหรือหลักฐานในการดำเนินการเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี

ที่มา : กรมสรรพากร, ภาษีง่ายๆ By Taxido