ภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีความเกี่ยวข้องกับกิจการขายสินค้า ตั้งแต่การเริ่มต้นประกอบกิจการ ทั้งการเช่าหรือซื้อที่ดินเพื่อประกอบกิจการ การซื้อหรือค้นหาวัตถุดิบ การจ้างพนักงาน ไปจนถึงการมีรายได้จากการขายสินค้า ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับภาษีทั้งสิ้น นอกจากการที่ผู้ประกอบการต้องดูว่ามีภาษีอะไรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตัวเองแล้ว ยังต้องต้องทำความเข้าใจกับการคำนวนภาษีและยื่นภาษีให้ถูกต้อง
วันนี้เราจึงขอนำผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับการขายสินค้า มาทำความรู้จักกับ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งเชื่อว่าผู้ประกอบการต้องกำลังสับสนอยู่แน่ ๆ ว่า ใครเป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย ใครหักภาษี ณ ที่จ่ายได้บ้าง และหักได้ในกรณีใดบ้าง มาทำความเข้าใจไปพร้อมกันเลยค่า
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักภาษีหัก ณ ที่จ่ายกันก่อนว่าคืออะไร
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ เงินภาษีที่มีการหักไว้ล่วงหน้า โดย ‘ผู้หัก’ คือ ผู้ที่มีสถานะเป็นบริษัทหรือนิติบุคคล หักจากผู้รับเงินที่เป็นนิติบุคคลหรือคนธรรมดาก็ได้ โดยต้องนำส่งให้สรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
ใครสามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้บ้าง
ผู้ที่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ ต้องมีสถานะเป็นนิติบุคคลเท่านั้น บุคคลธรรมดาไม่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ โดยผู้ที่ถูกหัก สามารถเป็นได้ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา
โดยผู้หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จะต้องยื่นหัก ณ ที่จ่ายตามสถานะของผู้รับเงิน ดังนี้
เมื่อรู้แล้วว่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ต่อมาเราจะมาทำความเข้าใจในส่วนของการดำเนินงาน ตั้งแต่ขั้นตอนของการเริ่มเปิดร้านไปจนถึงขายสินค้า มีตรงส่วนไหนที่มีความเกี่ยวข้องกับ ภาษี หัก ณ ที่ จ่ายบ้าง
ทำเลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการที่มีหน้าร้านให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยให้ลูกค้าหาร้านเจอได้ง่ายแล้ว ยังเป็นการเพิ่มการมองเห็นจากลูกค้าที่ผ่านไปผ่านมาด้วย แต่ทำเลที่ดีบางครั้งก็แลกมากับที่ดินที่มีราคาแพง ฉะนั้นการเช่าสถานที่เพื่อประกอบกิจการจึงเป็นทางเลือกที่ดีของผู้ประกอบการ ดังนั้นเมื่อมีการเช่าสถานที่ ผู้ประกอบการจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้รับในอัตราร้อยละ 5 ไม่ว่าจะเป็นการเช่าเพื่อเปิดร้านขายสินค้า การเช่าโกดังเพื่อผลิตหรือเก็บสินค้า หรือการเช่าออฟฟิศเพื่อบริหารกิจการก็ตาม
2. การจ้างช่างในการก่อสร้างร้านหรือตกแต่งสถานที่ประกอบธุรกิจ
นอกจากทำเลจะดีแล้ว ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับการตกแต่งร้านเพื่อความสวยงาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหากผู้ประกอบการมีการจ้างช่างหรือการจ้างสถาปนิกเพื่อตกแต่งสถานที่ประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบการจะต้องหักผู้รับเงินตามที่กรมสรรพากรกำหนด ในอัตราร้อยละ 3
3. การจ้างผลิตสินค้าเพื่อนำมาจำหน่าย
หัวใจหลักของกิจการขายสินค้า คือสินค้าที่นำมาจำหน่าย ซึ่งในยุคที่มีการแข่งขันที่ดุเดือด ความแตกต่างและมีเอกลักษณ์เป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้ซื้อได้เป็นอย่างดี ฉะนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ การจ้างเพื่อผลิตสินค้า จึงเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการประเภทนี้ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่ออมีการจ้างบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลในการผลิตสินค้า เพื่อนำมาจำหน่ายในกิจการ ผู้ประกอบการต้องหักผู้รับเงินในอัตราร้อยละ 3
4. การจ้างพนักงานประจำ
หากสินค้าคือหัวใจหลัก พนักงานก็เหมือนแขนขาที่ขับเคลื่อนองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กับองค์กรประกอบอื่น โดยถ้าหากผู้ประกอบการมีการจ้างพนักงานประจำ ซึ่งพนักงานมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ผู้ประกอบการต้องหักจากพนักงานตามอัตราก้าวหน้า
การขายสินค้าในปัจจุบันนอกจากการจัดจำหน่ายที่หน้าร้านแล้ว การขายออนไลน์ก็สามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการได้ไม่แพ้กัน เมื่อมีการสั่งสินค้าออนไลน์ ก็ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับภาษี หัก ณ ที่จ่าย เนื่องจากสรรพากรกำหนดให้หัก ภาษี ณ ที่จ่าย ขนส่งในอัตราร้อยละ 1
3. ค่าโฆษณา
โฆษณาในยุคปัจจุบันถือว่ามีความสำคัญกับกิจการเป็นอย่างมาก เนื่องจากการแข่งขันที่สูงขึ้น มีคู่แข่งเข้ามาในตลาดตลอดเวลา หากผู้ประกอบการต้องการให้กิจการของตนเองเป็นที่รู้จัก ก็ต้องมีการเสริมด้วยการโฆษณา เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นสินค้าของเรามากขึ้น ดังนั้นเมื่อผู้ประกอบการมีการจ่ายค่าโฆษณา จะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 2 จากผู้รับเงิน
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
_GRECAPTCHA | 5 months 27 days | This cookie is set by the Google recaptcha service to identify bots to protect the website against malicious spam attacks. |
cookielawinfo-checkbox-advertisement | 1 year | Set by the GDPR Cookie Consent plugin, this cookie is used to record the user consent for the cookies in the "Advertisement" category . |
cookielawinfo-checkbox-analytics | 1 year | Set by the GDPR Cookie Consent plugin, this cookie is used to record the user consent for the cookies in the "Analytics" category . |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 1 year | Set by the GDPR Cookie Consent plugin, this cookie is used to record the user consent for the cookies in the "Necessary" category . |
CookieLawInfoConsent | 1 year | Records the default button state of the corresponding category & the status of CCPA. It works only in coordination with the primary cookie. |
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
_ga | 2 years | The _ga cookie, installed by Google Analytics, calculates visitor, session and campaign data and also keeps track of site usage for the site's analytics report. The cookie stores information anonymously and assigns a randomly generated number to recognize unique visitors. |
_ga_KRLHFX5NQ1 | 2 years | This cookie is installed by Google Analytics. |
_gat_UA-128761727-1 | 1 minute | A variation of the _gat cookie set by Google Analytics and Google Tag Manager to allow website owners to track visitor behaviour and measure site performance. The pattern element in the name contains the unique identity number of the account or website it relates to. |
_gcl_au | 3 months | Provided by Google Tag Manager to experiment advertisement efficiency of websites using their services. |
_gid | 1 day | Installed by Google Analytics, _gid cookie stores information on how visitors use a website, while also creating an analytics report of the website's performance. Some of the data that are collected include the number of visitors, their source, and the pages they visit anonymously. |
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
IDE | 1 year 24 days | Google DoubleClick IDE cookies are used to store information about how the user uses the website to present them with relevant ads and according to the user profile. |
test_cookie | 15 minutes | The test_cookie is set by doubleclick.net and is used to determine if the user's browser supports cookies. |