You are currently viewing รู้จักคู่มือผู้ประกอบการกรณีขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

รู้จักคู่มือผู้ประกอบการกรณีขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • Post author:
  • Post category:e-tax invoice
right-arrow
คำร้องที่ใช้ในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  •  ขอคืนเป็นเครดิตภาษี เพื่อยกไปใช้ในเดือนภาษีถัดไป
    • ยื่นแบบ ภ.พ.30 กรณีการยื่นแบบปกติเท่านั้น (กรณีการยื่นแบบขอคืนเพิ่มเติม ให้ขอคืนเป็นเงินสด)
  • ขอคืนเป็นเงินสด ให้ขอคืนด้วยแบบแสดงรายการต่อไปนี้
    • แบบ ..30
      • ลงลายมือชื่อในช่อง “การขอคืนภาษี” และ “คำรับรอง” ท้ายแบบ ภ.พ.30
    • แบบ .10 เฉพาะกรณีต่อไปนี้
      • ขอคืนเป็นเครดิตไว้ แต่ไม่ได้นำไปใช้ในเดือนภาษีถัดไป
      • ไม่ลงลายมือชื่อในแบบ ภ.พ.30
      • ยื่นแบบ ภ.พ.30 โดยแสดงยอดขายและยอดซื้อไว้ถูกต้อง แต่แสดง ภาษีขายไว้เกินหรือภาษีซื้อไว้ขาด
      • ยื่นแบบ ภ.พ.30 ชำระภาษีไว้ซ้ำ
      • ไม่มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.30 แต่ได้ชำระภาษีไว้
      • กรณีอื่นที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในการขอคืนด้วยแบบ ภ.พ.30
ระยะเวลาที่มีสิทธิขอคืน
”3 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้น หรือ นับแต่วันที่ชำระภาษี
ภ.พ.30
ค.10

getInvoice ทำให้ e-tax Invoice เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ!!!

right-arrow
ช่องทางในการขอคืน
  • ยื่นคำร้องขอคืนผ่านอินเทอร์เน็ต
    • ยื่นผ่าน E-FILING https://efiling.rd.go.th/
      **ภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป (ขยายเวลาการยื่นแบบ ภ.พ.30 ผ่านอินเทอร์เน็ต ถึงวันที่ 31 มกราคม 2570)**
      *ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 1 มีนาคม 2567*
  • ยื่นคำร้องขอคืนด้วยแบบกระดาษ
    • ให้ยื่นคำร้อง แยกเป็นรายสถานประกอบการ เว้นแต่ ได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกัน
      • กรณีขอคืนด้วยแบบ ภ.พ.30

        ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่ได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบรวม

        *ฉบับปกติ ยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป*
      • กรณีขอคืนด้วยแบบ ค.10

        ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือ กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่

        (เฉพาะกรณีรายที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่)
right-arrow
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์มูลเหตุการขอคืน

     เจ้าหน้าที่จะทำการวิเคราะห์แบบขอคืน หากพบประเด็นความผิดหรือเหตุสงสัย จะดำเนินการตรจสอบเพื่อสอบถามมูลเหตุการณ์ขอคืน และแจ้งให้นำส่งเอกสารเพื่อใช้ในการพิจารณาการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม

right-arrow
การพบเจ้าหน้าที่
  • เตรียมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องของกิจการเพื่อความรวดเร็วในการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น
    • รายงานภาษีขายและสำเนาใบกำกับภาษีขาย
    • รายงานภาษีซื้อและต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อ
    • รายงานสินค้าและวัตถุดิบ ยกเว้นกิจการให้บริการ
    • รายการเดินบัญชี (Statement) หลักฐานการจ่ายเงิน
    • หลักฐานการบัญชี
หมายเหตุ : พร้อมเตรียมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย/การปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์/การขีดฆ่าอากรแสตมป์
  • เข้าพบเจ้าหน้าที่เพื่อชี้แจงและส่งมอบเอกสาร
    • เข้าพบด้วยตนเอง
      • ติดต่อเจ้าหน้าที่ตามช่องทางที่เจ้าหน้าที่แจ้งไว้
    • มอบอำนาจ
      • กรณีไม่สามารถเข้าพบเจ้าหน้าที่ได้ด้วยตนเองให้มอบอำนาจแก่ผู้ที่ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการ พร้อมปิดอากรแสตมป์หนังสือมอบอำนาจ

  • ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุผลที่ขอคืน 
    • เช่น มีการลุงทุนในทรัพย์สิน, มีการก่อสร้างอาคารเพื่อขยายกิจการ ฯลฯ
right-arrow
การรับทราบผลการตรวจ
  • ไม่พบ ประเด็นความผิด
    • ผู้ขอคืนจะได้รับเงินภาษีอากรคืนตามมูลค่าที่ขอคืน
  • พบ ประเด็นความผิด
right-arrow
การยื่นอุทธรณ์

   หากผลการตรวจสอบพบประเด็นความผิด หรือ หากไม่เห็นด้วยกับผลการคืนภาษี ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำร้องขออุทธรณ์ได้ โดยใช้แบบคำอุทธรณ์ (ภ.ส.6) ภายในระยะเวลาที่กำหนด

  • กำหนดเวลาการยื่นอุทธรณ์
    • ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคืนภาษีอากร (ค.20) หรือ หนังสือแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากร (ค.30)
    • ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.72 /ภ.พ.72.1) หรือ หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.73 /ภ.พ.73.1)
  • สถานที่ยื่นอุทธรณ์
    • สำนักงานสรรพากรภาคที่รับผิดชอบ
    • สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
    • กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ *(เฉพาะกรณีรายที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกองบริหารธุรกิจขนาดใหญ่)

สำหรับร้านค้าที่ต้องการใช้ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt) สอบถามเพิ่มเติม getInvoice  ได้เลย

หนังสือมอบอำนาจ (ต.5)
คำร้องของดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีอากร
แบบคำอุทธรณ์ (ภ.ส.6)
right-arrow
ตัวอย่างเอกสารที่ควรจัดเตรียมเพื่อชี้แจงต่อกรมสรรพากรเพื่อประกอบการพิจารณาคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประเภทธุรกิจ
  • เอกสารทั่วไป
    • สำเนาใบกำกับภาษีขายและต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อ
    • รายงานภาษีขาย, รายงานภาษีซื้อ
    • รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (ยกเว้นกิจการให้บริการ)
    • แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เช่น ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.3 เป็นต้น
    • หลักฐานการบันทึกบัญชี
    • หลักฐานการรับ-จ่ายเงิน เช่น รายการเดินบัญชี (Statement), ฯลฯ
    • หลักฐานการมีเงินได้หรือค่าใช้จ่ายอื่น (ถ้ามี)
กรณีข้อมูลเอกสารถูกจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และจัดส่งให้กรมสรรพากรแล้ว ไม่ต้องส่งมอบให้เจ้าหน้าที่
  • เอกสารตามธุรกรรมของกิจการ
         เพื่อนำพิสูจน์ความถูกต้องและมีอยู่จริงของธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ธุรกิจส่งออกสินค้า
    • สำเนาใบขนส่งสินค้าขาออก
    • หลักฐานการรับชำระเงิน เช่น
      • หลักฐานการเปิด L/C (Letter of Credit)
      • T/T (Telex Transfer)
  • ธุรกิจโรงแรม
    • บัตรทะเบียนผู้พักโรงแรม (ร.ร.3)
    • สัญญาการเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์
  • ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์
    • สัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่าย
    • สัญญาจองรถยนต์ หรือ ใบสั่งจองรถยนต์
  • ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
    • หลักฐานการรับจ้าง เช่น สัญญารับจ้าง, Bill of Quantities (BoQ) เป็นต้น
    • สัญญาจ้างเหมา หรือ สัญญาก่อสร้าง

ที่มา : กรมสรรพากร

getInvoice ทำให้ e-tax Invoice เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ!!!