ผู้ที่มีเงินเดือนประจำตั้งแต่ 120,000 บาท/ปี หรือมีรายได้ประเภทอื่นๆตั้งแต่ 60,000 บาท/ปี ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีจำนวนเท่าไหร่จะขึ้นอยู่กับฐานของเงินได้สุทธิแต่ละปี ซึ่งหลายๆ คน ควรวางแผนเพื่อการลดหย่อนภาษีได้ตั้งแต่ตอนนี้ จะช่วยทำให้เราประหยัดการเสียภาษีลงได้ หรืออาจจะได้รับการยกเว้นภาษีเลยหากเงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนต่างๆ แล้วเหลือไม่เกิน 150,000.บาท/ปี
การวางแผนและเตรียมตัววางแผนเกี่ยวกับภาษีเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีจึงสำคัญ มาทำความเข้าใจเพื่อจะได้รู้ว่าเราต้องเตรียมลดหย่อนภาษีจากส่วนไหนได้บ้าง
ตรวจสอบสิทธิลดหย่อนภาษี
- เข้าไปยังเว็บไซต์ https://www.rd.go.th/html
- เลือกเมนู My Tax Account https://efiling.rd.go.th/rd-efiling-web/authen/MTA2
- ก่อนใช้งานต้องลงทะเบียน หรือ ล็อกอินด้วยบัญชีเดียวกับ e-Filling
- เลือกรายการลดหย่อนภาษีเพื่อตรวจสอบ
ใช้งาน getInvoice (e-tax Invoice) หักรายจ่ายค่าบริการระบบดังกล่าวได้ 2 เท่า!!
ยื่นภาษีเมื่อไหร่
การยื่นภาษีมีด้วย 2 แบบ คือ
- ยื่นภาษีแบบกระดาษ สามารถยื่นได้ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม
- ยื่นภาษีแบบออนไลน์ สามารถยื่นได้ตั้งแต่ 1 มกราคา – 8 เมษายน
ข้อแนะนำในการยื่นภาษี
- ควรวางแผนเพื่อลดหย่อนภาษีล่วงหน้าตั้งแต่ต้นปี เพื่อได้คำนวณได้ว่า ในปีภาษีนั้นๆ ใช้สิทธิลดหย่อนจากอะไรได้บ้าง
- ไม่ยื่นแบบล่าช้า ยื่นผิด มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- ยื่นแบบภาษีเกินเวลา มีค่าปรับเพิ่มร้อยละ 5/เดือน
- จงใจยื่นแบบด้วยข้อมูลเท็จ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 7 ปี และปรับ 2,000 – 200,000 บาท หรือ ตั้งใจละเลยไม่ยื่นแบบเพื่อเลี่ยงภาษี มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
- สามารถผ่อนชำระภาษีได้ หากมียอดชำระภาษีตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป สามารถผ่อนชำระได้ 3 เดือน
- ช่องทางการติดต่อกรมสรรพากร สอบถามได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือโทร 1161 ทุกวันทำการ ตั้งแต่ 8.30 น. – 18.00 น.
รายการลดหย่อนภาษี ปี 2566
ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
- ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
- คู่สมรส (จดทะเบียนสมรส – ไม่มีรายได้) 60,000 บาท
- บุตร คนละ 30,000 บาท หากเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวนคน แต่ถ้าเป็นบุตรบุญธรรม สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- อายุไม่เกิน 20 ปี
- ถ้าอายุ 21 – 25 ปี ต้องศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ขึ้นไป
- บุตรมีเงินได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อปี
ในกรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป จะสามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
- ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
- ค่าดูแลเลี้ยงดูพ่อแม่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คนละ 30,000 บาท โดยพ่อแม่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และสามารถหักลดหย่อนสำหรับพ่อแม่ของคู่สมรสได้อีกคนละ 30,000 บาท
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท โดยผู้พิการต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวคนพิการ
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มมประกันและการลงทุน
- ประกันสังคมสูงสุด 9,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ของเราและคู่สมรส ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต (คุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป) ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตทั่วไปแล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และอาจจะลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท ถ้ายังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- ระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
- จ่ายผลตอบแทนให้ผู้เอาประกันตั้งแต่อายุ 55 ปี ต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 85 ปี หรือมากกว่านั้น
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ลดหย่อนได้ 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี
- ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก โดยนับเฉพาะปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุน คือ ปีใดไม่ลงทุนจะไม่นับว่ามีการลงทุนในปีนั้น
- ขายได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- ต้องถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ
- ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อและไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุด 30,000 บาท
ทั้งนี้ กองทุน RMF, กองทุน SSF, กบข., กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมด ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
11. กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) ปี 67-69 ลดหย่อนได้ 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 300,000 บาท
ค่าลดหย่อนกระตุ้นเศรษฐกิจ
- ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- เป็นดอกเบี้ยจากเงินกู้เพื่อซื้อบ้าน คอนโดมิเนียม หรือที่อยู่อาศัย โดยเราต้องอาศัยในบ้านหลังนี้ด้วย
- ต้องเป็นการกู้เพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่บนที่ดินของตัวเอง หรือกู้เพื่อซื้อคอนโดมิเนียม
- ต้องเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินภายในประเทศ
- หากมีการกู้สำหรับที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่ง สามารถรวมกันได้ แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- กรณีกู้ร่วมกันหลายคน ให้แบ่งดอกเบี้ยคนละเท่า ๆ กัน
- เที่ยวเมืองรอง ไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
- เที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด
- ค่าท่องเที่ยวมัคคุเทศก์, ค่าที่พักโรงแรม รีสอร์ท หรือโฮมสเตย์ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. – 30 พ.ย. 2567 โดยต้องมีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้เป็นหลักบานการยืนยันในการรับสิทธิในการลดหย่อน
- Easy e-Receipt ไม่เกิน 50,000 บาท โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
- ซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ โดยนำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ในช่วง 1 ม.ค. – 15 ก.พ. 2567 เพื่อใช้เป็นหลักบานการยืนยันในการรับสิทธิในการลดหย่อน
- ค่าสร้างบ้านใหม่ 2567-2568 สามารถลดหย่อนได้ 10,000 บาท ต่อจำนวนค่าก่อสร้างที่จ่ายจริงทุก 1 ล้านบาท (รวม Vat แล้ว) รวมแล้วไม่เกิน 100,000 บาท โดยจำกัดการก่อสร้างบ้านใหม่ไม่เกิน 1 หลัง สูงสุดไม่เกิน 10,000,000 บาท เฉพาะค่าก่อสร้างบ้านใหม่ตามสัญญาจ้างที่ได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ 9 เม.ย. 2567 – 31 ธ.ค. 2568
ลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค
- บริจาคพรรคการเมือง 10,000 บาท
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา สนับสนุนกีฬา พัฒนาสังคมต่าง ๆ มูลนิธิด้านสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
- เงินบริจาคอื่น ๆ มูลนิธิและองค์กรสาธารณกุศล ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
getInvoice ทำให้ e-tax Invoice เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ!!!