Categories: e-tax invoice

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ควรรู้…

    เราคงได้ยินและเห็นกันอยู่บ่อยๆ สำหรับคำว่า “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” (Value Added Tax) หรือ Vat คือ การเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ในปัจจุบันผู้ประกอบการในประเทศไทยจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้บริโภคอัตราร้อยละ 7 หรือ 7% และจะนำส่งให้กับกรมสรรพากรนั่นเอง

ผู้ประกอบการใดบ้างที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าในราชอาณาจักรไทย
  • การให้บริการในราชอาณาจักรไทยโดยผู้ประกอบการ รวมถึงการให้บริการที่ทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นๆ ในราชอาณาจักรไทย เช่น
    • การให้บริการแพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์จากบริษัทต่างประเทศที่ใช้ในไทย
    • การบริการที่ได้ทำในราชอาณาจักรไทย แต่ใช้บริการจริง เกิดขึ้นในต่างประเทศ เช่น รับจ้างเขียนซอฟต์แวร์ให้บริษัทต่างชาติไปใช้ในต่างประเทศ
  • ผู้ประกอบการที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรไทย

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ เกินกว่า 8 ล้านบาท/ปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายรับเกิน

(ผู้ประกอบการที่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี ได้รับการยกเว้น แต่มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้)

  • ผู้ประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายใน 6 เดือน ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ

การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. การขายสินค้าที่มิใช่การส่งออก

    เช่น การขายพืชผลทางการเกษตร การขายสัตว์ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน

  1. การให้บริการ

    เช่น การให้บริการวิจัยหรือให้บริการทางวิชาการ การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ (ซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยาน หรือ เรือเดินทะเล) การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น

  1. การนำเข้าสินค้า
    • สินค้าพืชผลทางการเกษตร ขายสัตว์ ปุ๋ย อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
    • สินค้าจากต่างประเทศที่นำเข้าไปในเขตปลอดอากร (ทั้งนี้ เฉพาะสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น)
    • สินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
    • สินค้าซึ่งนำเข้าและอยู่ในอารักขาของศุลกากรและได้ส่งกลับออกไปต่างประเทศ (โดยได้คืนอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร)

วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. ยื่นแบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) ด้วยกระดาษ
    • ยื่น ณ สำนักสรรพากรพื้นที่สาขาหรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
  2. ยื่นแบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  3. ยื่นแบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมจดทะเบียนจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด
    • ผ่าน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วต้องทำอะไรบ้าง

  1. จัดทำใบกำกับภาษี

    ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษี สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการทุกครั้ง แล้วส่งมอบต้นฉบับใบกำกับภาษีแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และ เก็บรักษาสำเนาใบกำกับภาษี ณ สถานประกอบการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี

  1. จัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • รายงานภาษีขาย : ให้จัดทำและลงรายการ

ภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษี

ภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับใบกำกับภาษี

    • รายงานสินค้าหรือวัตถุดิบ : ให้จัดทำและลงรายการ

ภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่รับมาหรือจ่ายไป

(ผู้ประกอบกิจการให้บริการไม่ต้องจัดทำรายงานนี้)

  1. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) พร้อมกับชำระภาษี (ถ้ามี)

    ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

    • ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) เป็นประจำทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
    • ยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (rd.go.th) ได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบอีก 8 วัน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มต้องเสียหรือไม่ก็ตาม

การชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. การชำระภาษีสำหรับแบบที่ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
    • เงินสด
    • เช็คหรือแคชเชียร์เช็ค
      เช็คทุกประเภทสั่งจ่ายแก่ “กรมสรรพากร” และขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” ออก
    • บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตร Tax Smart Card
      (เฉพาะสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่มีเครื่องรูดบัตร)
  2. การชำระภาษีสำหรับแบบที่ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต
    • ชำระแบบเชื่อมต่อไปยังระบบชำระเงินของธนาคารโดยตรง
      • E-Payment
      • Internet Banking
      • Credit Card
    • ชำระด้วยชุดชำระเงิน (Pay in Slip) หรือ QR Code & Barcode
      • Counter Service
      • ATM
      • Internet Banking
      • Mobile Banking
      • Tax Smart Card

เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และบทกำหนดโทษ

ขอบคุณข้อมูล : กรมสรรพากร

aom

This website uses cookies.