You are currently viewing ภาษี ธุรกิจโรงแรม และ ร้านอาหาร

ภาษี ธุรกิจโรงแรม และ ร้านอาหาร

  • Post author:
  • Post category:e-tax invoice

   ผู้ประกอบกิจการร้านอาหารและธุรกิจโรงแรม มักให้ความสำคัญกับการบริหารต้นทุน ค่าใช้จ่าย และการวางระบบ จนลืมคำนึงถึงส่วนสำคัญไปอีกหนึ่งอย่าง คือ ภาษี ซึ่งมีความสำคัญและมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการเป็นอย่างมาก วันนี้เราได้รวบรวมภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจโรงแรมไว้แบบง่าย ๆ สำหรับเจ้าของกิจการมือใหม่ไว้เตรียมตัวไว้ เพื่อความปังกัน

ธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจโรงแรม สามารถแบ่งภาษีออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้

   ช่วงที่ 1 เตรียมเปิดธุรกิจ เป็นช่วงที่มีการจ้างลูกจ้าง จ่ายค่าแรง เช่าตึกอาคารในการประกอบกิจการ หรือแม้กระทั่งป้ายร้านค้า ก็มีความเกี่ยวข้องกับการภาษี ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้

right-arrow

1. ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

   คือการจัดเก็บภาษีล่วงหน้า โดยกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย ซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หลังจากนั้นให้นำเงินส่งกรมสรรพากร ตัวอย่างเงินที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เช่น ในกรณีที่ผู้กอบการการมีการจ้างลูกจ้าง โดยลูกจ้างมีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 26,000 บาทต่อเดือน ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป  นอกจากค่าจ้างแล้วยังรวมไปถึง ค่าเช่า ค่าโฆษณา ค่าขนส่ง ค่าบริการ เงินปันผลอีกด้วย

right-arrow

2. ภาษี ป้าย

   คือ ภาษีที่จัดเก็บโดยท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.), กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา โดยร้านอาหารและโรงแรมถือว่าเป็นที่ดินในกลุ่มพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม คือ การทำประโยชน์ด้านพาณิชยกรรม โดยปัจจุบันอัตราภาษียังอยู่ที่ 0.3-0.7% โดยจะเสียภาษีตัวนี้เมื่อผู้ประกอบการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ร้านอาหารหรือธุรกิจโรงแรมตั้งอยู่ ซึ่งปกติจะมีจดหมายแจ้งประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พร้อมแจ้งให้ผู้ประกอบการไปจ่ายกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่ตั้งของที่ดินนั้น

right-arrow

3. ภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

   คือ ภาษีที่จัดเก็บโดยท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.), กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา โดยร้านอาหารและโรงแรมถือว่าเป็นที่ดินในกลุ่มพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม คือ การทำประโยชน์ด้านพาณิชยกรรม โดยปัจจุบันอัตราภาษียังอยู่ที่ 0.3-0.7% โดยจะเสียภาษีตัวนี้เมื่อผู้ประกอบการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ร้านอาหารหรือธุรกิจโรงแรมตั้งอยู่ ซึ่งปกติจะมีจดหมายแจ้งประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พร้อมแจ้งให้ผู้ประกอบการไปจ่ายกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่ตั้งของที่ดินนั้น

right-arrow

4. ภาษี ศุลกากร

   ผู้ประกอบการร้านอาหารจะจ่ายภาษีศุลกากรในกรณีที่ร้านได้มีการสั่งนำเข้าสินค้า วัตถุดิบ เครื่องจักร ที่อยู่ในบัญชีภาษีนำเข้า โดยอัตราภาษีของสินค้าแต่ละประเภทจะมีอัตราที่ต่างกัน ต้องทำการศึกษาทั้งพิธีการนำเข้าและพิกัดภาษี เพื่อเพิ่มความสะดวกในการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ของร้านจากต่างประเทศ 

right-arrow

5. อากรแสตมป์

   กรณีกิจการโรงแรมได้ทำสัญญาเช่าที่ดินเพื่อใช้เป็นสถานประกอบการ ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ชำระอากรแสตมป์อัตรา 1 บาท ต่อจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือกรณีกิจการมีการให้กู้ยืมเงิน ซึ่งผู้ให้กู้มีหน้าที่ชำระอากรแสตมป์อัตรา 1 บาท ต่อจำนวนเงิน 2,000 บาท ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยแนบตราสารที่ขอเสียอากรไปด้วยและให้ยื่นต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา

   ช่วงที่ 2 ดำเนินธุรกิจ  เป็นช่วงที่ผู้ประกอบการเริ่มมีรายได้เข้ามา ซึ่งรายได้เหล่านี้จะต้องนำไปคำนวนภาษี โดยแบ่งแยกย่อยไปตามสถานของผู้ประกอบการ โดยมีความเกี่ยวข้องกับภาษีต่าง ๆ ดังนี้

right-arrow

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

   คือ ภาษีที่จัดเก็บกับบุคคลทั่วไปที่มีรายได้ ซึ่งผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องแสดงรายการตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ซึ่งรายได้จากร้านอาหารและธุรกิจโรงแรมถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบคือ 1.หักค่าใช้จ่าย ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงของกิจการและจะต้องสามารถแสดงหลักฐานพิสูจน์ค่าใช้จ่ายได้ 2.หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาอัตราร้อยละ 70 ในธุรกิจโรงแรม และอัตราร้อยละ 60 ในธุรกิจร้านอาหาร โดยผู้ประกอบการต้องทำการยื่นภาษี 2 ครั้ง คือ

  • ครั้งที่1 ภ.ง.ด.94 (ภาษีกลางปี) ยื่นภายในเดือนกันยายน โดยสามารถยื่นด้วยตัวเอง สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์สรรพากร
  • ครั้งที่ 2 ภ.ง.ด.90 ยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

   ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าของกิจการร้านอาหารต้องยื่นตรวจสอบภาษี แต่จะต้องจ่ายภาษีเพิ่มหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการคำนวณรายได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษีของแต่ละกิจการ จ่ายเพิ่มมากบ้างหรือน้อยบ้าง ซึ่งในบางท่านอาจไม่ต้องจ่ายเพิ่มเลยก็มีค่ะ

right-arrow

2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

   ผู้ประกอบการร้านอาหารและกิจการโรงแรมที่จดทะเบียนเป็นบริษัท เป็นห้างหุ้นส่วน ห้างร่วมค้า หรือเป็นคณะบุคคล ต้องมีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยภาษีเงินได้นิติบุคคลจะใช้รอบระยะเวลาบัญชีในการคำนวนและกำหนดเวลาในการยื่นภาษีซึ่งจะเริ่มต้นและสิ้นสุดลงช่วงใดของปีก็ได้ โดยยอดภาษีจะคำนวณจาก กำไรสุทธิคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด โดยทำการยื่นภาษี 2 ครั้ง คือ

  • ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับ แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
  • ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบ เวลาบัญชี
right-arrow

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

   คือ การเก็บภาษีจากการขายสินค้าและการให้บริการ โดยปกติจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ซึ่งผู้ประการร้านอาหารและธุรกิจโรงแรมต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย โดยต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายได้เกิน ซึ่งผู้ประกอบการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือน โดยยื่นแบบภ.พ. 30 ทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมียอดขายหรือไม่ก็ตามค่ะ

เกร็ดน่ารู้ : หากผู้ประกอบการร้านอาหารต้องการจดทะเบียนเครื่องบันทึกเงินสด เพื่อให้สะดวกในการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ จำเป็นต้องยื่นคำขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกเงินสดต่ออธิบดีกรมสรรพากรก่อนนะคะ จะได้ประกอบกิจการอย่างราบรื่น

เกร็ดน่ารู้ : ค่าธรรมเนียมผู้พักในโรงแรม คือเงินที่ต้องเรียกเก็บจากผู้เข้าพักโรงแรมเพื่อนำส่งให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดของแต่ละแห่งที่โรงแรมนั้นตั้งอยู่ นอกจากนี้ยังมี ค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรม ซึ่งต้องจ่ายปีละ 40 บาทต่อห้องพัก อีกด้วย

สรุปภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร

ภาษี ธุรกิจโรงแรม-ร้านอาหาร-1